Journal Information
Publication Ethics
Publication Ethics
จริยธรรมในการตีพิมพ์วารสารของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
จริยธรรมในการตีพิมพ์สำหรับผู้เขียนบทความ
1. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยถูกตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ทางวิชาการใด ๆ มาก่อนหรือกำลังอยู่ในกระบวนการตีพิมพ์บทความในวารสารที่อื่น ๆ
2. หากพบว่ามีการคัดลอกเนื้อหาของบทความจากเอกสารหรือสิ่งพิมพ์อื่นใด จะมีการดำเนินการแจ้งกองบรรณาธิการให้ทราบโดยทันที
3. สำหรับบทความที่เป็นการนำเสนอข้อมูลการวิจัยหรือเป็นการวิจัยโดยมีการทดลองกับคนหรือสัตว์จะต้องเป็นการวิจัยหรือการทดลองที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมสำหรับการวิจัยมนุษย์และสัตว์ และผู้เขียนจะต้องส่งเอกสารอนุมัติรับรองการอนุญาตให้ทำการวิจัยให้กับทางโครงการฯ เพื่อเป็นหลักฐานด้วย
จริยธรรมในการตีพิมพ์สำหรับผู้ประเมินบทความ
1) ผู้ประเมินต้องประเมินบทความอย่างซื่อตรงตามมาตรฐานขององค์ความรู้ ปราศจากอคติ และไม่ประวิงเวลาการประเมินจนส่งผลกระทบต่อผู้ประพันธ์บทความ
2) ผู้ประเมินต้องไม่นำข้อมูลจากบทความต้นฉบับไปแสวงหาผลประโยชน์ในทางใดทางหนึ่งตลอดกระบวนการประเมินบทความ
3) ผู้ประเมินต้องเคารพในเสรีภาพทางวิชาการที่ผู้ประพันธ์ต้องการนำเสนอ และหากผู้ประเมินพบว่าตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้ประพันธ์ต้นฉบับต้องรีบแจ้งแก่ทางวารสารทันที
4) หากผู้ประเมินพบว่าต้นฉบับมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผิดพลาด รวมถึงแหล่งอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง ต้องแจ้งความผิดพลาดนั้นให้ทางวารสารได้รับทราบ
จริยธรรมในการตีพิมพ์ของกองบรรณาธิการวารสาร
1) ส่งเสริมการตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพและรักษาจริยธรรม และมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
2) ปฏิบัติหน้าที่ด้านการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างมีคุณภาพ ป้องกันความผิดพลาด และส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการให้วารสารเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ความรู้ต่อสังคม
3) พิจารณาปรับเปลี่ยนแนวทางการตีพิมพ์ และแนวปฏิบัติอื่นๆ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม
4) การตัดสินใจของกองบรรณาธิการจะถือหลักวิชาการเป็นหลักโดยไม่ปล่อยให้มีการแทรกแซงจากหลักที่ไม่เป็นวิชาการ และผลการตัดสินใจเกี่ยวกับการพิจารณาบทความให้ถือเป็นสิ้นสุด
5) หลักการและแนวปฏิบัติเพื่อตีพิมพ์ผลงานกับทางวารสารถูกเผยแพร่ไว้อย่างชัดเจนบนฐานข้อมูลของวารสารเพื่อให้ผู้สนใจตีพิมพ์ผลงานสามารถปฏิบัติตามได้อย่างสะดวก
6) การทำงานของกองบรรณาธิการจะไม่ประวิงเวลาจนส่งผลเสียหายต่อผู้เขียน และจะรักษารวมถึงคุ้มครองความลับของทั้งผู้เขียนและผู้ประเมินบทความไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่าย
7) มีระบบการตรวจสอบ กลไก และมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของบทความ รวมถึงการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
8) มีระบบการจัดเก็บความเห็นของผู้ประเมินไม่ให้รั่วไหล
9) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกองบรรณาธิการ ข้อมูลและแนวปฏิบัติต่างๆ ของวารสารจะถูกส่งต่อให้กองบรรณาธิการชุดใหม่ และหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่ง กองบรรณาธิการชุดใหม่จะได้ชี้แจ้งให้ทราบอย่างรวดเร็ว