กระบวนการสร้างตัวตนของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยปฏิบัติการศึกษาผ่านประสบการณ์

Authors

  • อภัสรินทร์ ขณะรัตน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กิตติกร สันคติประภา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุรวุฒิ ปัดไธสง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์, การศึกษาเรื่องเล่าแบบฟูโกต์เดียน, เทคโนโลยีของอำนาจ, experiential learning, a Foucauldian approach to narratives, technology ofpower

Abstract

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ตั้งคำถามต่อความเป็นองค์ประธานของผู้เรียนอาชีวศึกษาว่าแท้ที่จริงแล้วผู้เรียนเป็นองค์ประธานหรือเป็นเพียงผู้ถูกกระทำจากความรู้ภายใต้การจัดการศึกษาแบบอาชีวศึกษาวซึ่งมีเจตจำนงในการรับใช้เศรษฐกิจทุนนิยม วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะเผยให้เห็นถึงกระบวนการในการสร้างตัวตนของผู้เรียนอาชีวศึกษาซึ่งเกิดจากความรู้ที่สร้างความจริงของความเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์เทคโนโลยีของอำนาจ ตามแนวคิดของ มิเชล ฟูโกต์ เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการของอำนาจที่เข้ามากำกับ หรือจัดการกับร่างกายของผู้เรียนอาชีวศึกษาให้กลายเป็นร่างกายที่สยบยอมต่อระบอบแห่งความจริง โดยอาศัยวิธีการเข้าถึงข้อมูลผ่านการใช้เรื่องเล่าจากประสบการณ์ของผู้เรียนที่โดดเด่นจำนวน 11 คน โดยรวบรวมเรื่องเล่าจากการสนทนาเชิงลึกมาใช้วิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการในการสร้างตัวตนของนักเรียนอาชีวศึกษาเกิดจากการเรียนรู้โดยปฏิบัติการเรียนการสอนผ่านประสบการณ์ของนักเรียนอาชีวศึกษากล่าวคือ สร้างความเป็นผู้มีทักษะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพที่ถูกกำหนด และความเป็นผู้มีความสามารถระดับเชี่ยวชาญ ซึ่งจากนัยของการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติในกระบวนการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้สะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนในการพัฒนาตนเองเพราะผู้เรียนต้องเรียนตามรูปแบบที่กำหนดในหลักสูตรในระบบการศึกษาผู้เรียนกลายเป็นเพียงแค่ผู้ถูกกระทำหากแต่ผู้จัดการศึกษาได้ตระหนักในความจริงดังกล่าวจะนำไปสู่การรู้เท่าทันต่อการจัดการศึกษานำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลายต่อไป

 

The Process of Student Vocational Self Creation though Experiential Learning Practices

The main inquiry of this research is whether vocational students are a subjector an object of vocational knowledge through experiential learning dominated bycapitalism. Thus, the purpose of this research is to reveal the process of power in creatingvocational studentûs identity. In another word, they are becoming a docile body. Hence,the researcher follows Michel Foucault approach to reveal this process by analyzingtechnology of power. How it constructs the truth about vocational students. Therefore,Foucauldian approach to narratives is applicable by setting a thematic analysis from 11outstanding vocational studentsû experiences and stories. The result shows that theexperiential learning process and the experiential instruction in various practicingsubjects have transformed, and create vocational studentsû identity. Being a vocationalstudent, it can be described as a proficient person in a particular vocational profession inaccordance with its professional standards, and a specialist. However, it implies thatlearning and practicing as such may not reflect studentsû genuine needs and thefreedom to develop themselves according to their competency and preferences, but onlydisciplined through learning curriculum and instructions. If they had realized it,perhaps, it would bring about change in a rethinking of vocational educationarrangements to reflect studentsû differences.

Downloads