สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ลพบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • กชกร รุ่งหัวไผ่ สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ
  • ดุษฎี โยเหลา สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ
  • ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร สาขาวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤตกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ

Keywords:

สมรรถนะ, พจนานุกรมสมรรถนะ, หัวหน้ากลุ่มการเรียนรู้, competency, competency dictionary, academic leaders of the learningsubstance group

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดตัวชี้วัดสมรรถนะที่จำเป็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี 2) จัดทำพจนานุกรมสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตุพฤติกรรมการทำงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะของหนัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย ความรู้ความชำนาญในวิชาชีพ ความกระตือรือร้นในการทำงาน และวิสัยทัศน์ในการทำงาน กลุ่มที่ 2 สมรรถนะเฉพาะในตำแหน่งหน้าที่ประกอบด้วย ทักษะในการวางแผน คุณธรรมจริยธรรม และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  2) พจนานุกรมสมรรถนะของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อเรียกสมรรถนะ คำจำกัดความของสมรรถนะ รายละเอียดของพฤติกรรมบ่งชี้ และระดับสมรรถนะ

 

THE ESSENTIAL COMPETENCIES FOR THE ACADEMIC LEADER OF THE LEARNING SUBSTANCE GROUP: A CASE STUDY OF PRINCESS CHULABHORNûS COLLEGE LOPBURI OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISSION

This research aimed to 1) define essential competencies of academic leaders ofa learning substance group of princess Chulabhornûs college Lopburi and 2) contribute acompetency dictionary of the academic leaders. The sample consisted of 2 Schooladministrators, 8 academic leaders and 8 teachers of the learning substance group,amounting to 18 participants. The research tools of interviews and behavioralobservations were implemented to collect data from the academic leaders of the learningsubstance group. The collected data were analyzed using content analysis. The researchyielded two results. First, the competencies of the academic leaders were divided intotwo groups: one was core competencies including expertise in the profession, eagernessto work, and vision for work, while the other was functional competencies includingskills in planning, professional ethics, and creative thinking. Second, a competencydictionary for the academic leaders consisted of competency terms, definitions,behavioral indicators, and performance level.

Downloads