การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา

Authors

  • สิริวรรณ ศรีพหล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Keywords:

คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดี, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ชุดฝึกอบรมทางไกล, การจัดกิจกรรมการเรียนร้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ครูสังคมศึกษา, good citizenship characteristics, learning management model, distancetraining package

Abstract

การวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชาญาของเศษรฐกิจพอเพียง (2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศษรฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา และ (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา จำนวน 17 คน สำหรับการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา จำนวน 5 คน สำหรับการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา (3) ครูสังคมศึกษาที่สังกัดสำหรับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 ด้วย การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อการทดลองใช้เบื้องต้น เป็น 3 กลุ่ม คือ การทดลองแบบเดี่ยว จำนวน 9 คน และการทดลองแบบสนาม จำนวน 20 คน และ (4) ครูสังคมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 4 แห่งๆ ละ 30 คน สำหรับขั้นการทดลองใช้ในสถานการณ์จริง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 ฉบับ (2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัญชญาของเศรษกิจพอเพียงหรับครูสังคมศึกษา (3) แบบประเมินการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสหรับครูสังคมศึกษา (4) ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่องการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูสังคมที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (6) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจของครูสังคมศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (7) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้มัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ ประสิทธิภาพ E1/E2 การทดลองค่าที ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยปรากฏว่า

ตอนที่ 1 ผลการศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าสอดคล้องกันที่สามารถนำไปพัฒนาความเป็นพลเมืองดีตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ (1) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านทักษะ/กระบวนการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านคุณธรรม จริยธรรมและ ค่านิยมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ตอนที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา พบว่า (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบที่ 2 กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบที่ 3 จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอน องค์ประกอบที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 5 การวัดผลและประเมินผล และผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนยรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูสังคมศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒินั้น พบว่า รูปแบบดังกล่าวอยู่ในระดับมีความเหมาะสมมาก (2) ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 5 หน่วย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80

ตอนที่ 3 ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสหรับครูสังคมศึกษา พบว่า (1) ความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก (2) ผลสัมฤทธิ์ในการฝึกอบรมหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ใช้ชุดฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 4 จังหวัดสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความคิดเห็นของครูสังคมศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงถึงความเหมาะสมของเนื้อหาที่นำเสนอไว้ในชุดฝึกอบรมทางไกล ทั้ง 5 หน่วย โดยภาพรวมอยู่ในระดับความเหมาะสมมากที่สุด

 

Development of Learning Management Model on Good Citizenship of Students Based on the Sufficiency Economy Philosophy for Social Studies Teachers

The purposes of this research were (1) to study good citizenship characteristicsof students based on the sufficiency economy philosophy; (2) to develop a learningmanagement model on good citizenship of students based on the sufficiency economyphilosophy for social studies teachers; and (3) to study the try-out results of thedeveloped learning management model.

The research sample for this study comprised the following groups: (1) a groupof 17 experts with knowledge and experience on sufficiency economy philosophy andsocial studies learning management to provide opinions on good citizenshipcharacteristics based on the sufficiency economy philosophy; (2) a group of five expertswith knowledge and experience on sufficiency economy philosophy and social studies learning management to evaluate the learning management model on good citizenship ofstudents based on the sufficiency economy philosophy for social studies teachers; (3) agroup of 32 social studies teachers under Bangkok Metropolis Secondary EducationService Area Offices 1 and 2, obtained by stratified random sampling; then they weredivided into three groups for preliminary try-out of the learning management model asfollows: a group of three teachers for individual try-out, a group of nine teachers forsmall group try-out, and a group of 20 teachers for field try-out; and (4) social studiesteachers in the 4 Educational Service Areas, each of which consisting of 30 teachers fortry-out of the learning management model in real situations.

The employed research instruments were (1) three sets of questionnaires for theexperts on good citizenship characteristics of students based on the sufficiency economyphilosophy; (2) a learning management model on good citizenship of students based onthe sufficiency economy philosophy for social studies teachers; (3) an evaluation formfor social studies teachers to assess the learning management model on good citizenshipof students based on the sufficiency economy philosophy for social studies teachers;(4) a distance training package for social study teachers on learning management todevelop good citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy;(5) a questionnaire on opinions of social studies teachers toward the learningmanagement model on good citizenship of students based on the sufficiency economyphilosophy; (6) a learning achievement test to assess knowledge and understanding ofsocial studies teachers on learning management to develop good citizenship of studentsbased on the sufficiency economy philosophy; and (7) a questionnaire on opinions ofsocial studies teachers toward the distance training package for social study teachers onlearning management to develop good citizenship of students based on the sufficiencyeconomy philosophy. Data were analyzed using the median, inter-quartile range, E1/E2index, t-test, standard deviation, and content analysis.

Research findings were as follows:

Part 1: Results of the study of good citizenship characteristics of students basedon the sufficiency economy philosophy. It was found that the experts were in accord intheir opinions that good citizenship characteristics of students based on the sufficiencyeconomy philosophy comprised three components: (1) the good citizenship component of knowledge and understanding on principles of sufficiency economy philosophy andrelated fields of study; (2) the good citizenship component of process/skills based on thesufficiency economy philosophy; and (3) the good citizenship component of virtues,ethics and values based on the sufficiency economy philosophy.

Part 2: Results of development of the learning management model to developgood citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy for socialstudies teachers. It was found that (1) the developed learning management model todevelop good citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy forsocial studies teachers was composed of the following five components: the firstcomponent was the formulation of goals for developing good citizenship of studentsbased on the sufficiency economy philosophy; the second component was theformulation of guidelines for learning management to develop good citizenship ofstudents based on the sufficiency economy philosophy; the third component was thepreparation of instructional media and documents; the fourth component was theorganizing of learning activities; the fifth component was the measurement andevaluation; also, evaluation results of the developed learning management model todevelop good citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy forsocial studies teachers, as assessed by the experts, showed that the developed model wasappropriate at the high level; and (2) all of the five units of the developed learningmanagement model to develop good citizenship of students based on the sufficiencyeconomy philosophy for social studies teachers were efficient in accordance with thepre-determined 80/80 efficiency criterion.

Part 3: Try-out results of the developed learning management model to developgood citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy for socialstudies teachers. It was found that social studies teachers had overall opinion that thedeveloped learning management model to develop good citizenship of students basedon the sufficiency economy philosophy was appropriate at the high level; (2) thepost-training learning achievements of trainees in all of the four provinces, who used thedistance training package for social study teachers on learning management to developgood citizenship of students based on the sufficiency economy philosophy, weresignificantly higher than their pre-training counterpart achievements at the .05 level of statistical significance; and (3) the overall opinion of social studies teachers toward theappropriateness of contents presented in all of the five units of the distance trainingpackage was at the most appropriate level.

Downloads