รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
Keywords:
teacher development model, learning activity design ability on STEM EducationAbstract
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผู้เรียน ที่เน้นการพัฒนาครูประจำการให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพ ด้านการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และสมรรถนะด้านการคิดวิเคราะห์ตามมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการจัดการเรียนการสอน มาตรฐานวิชาชีพ ตามหลักการของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ และจากพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2553) และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574 เน้นความสำคัญในการพัฒนาครู เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา รวมทั้งสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนตามแนวทางสะเต็มศึกษา และสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูโดยส่งเสริมและพัฒนาครูผู้สอนในระดับประถมศึกษา
ในปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นความรู้ต่างๆ ที่หลากหลายจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นความรู้จากศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นสหวิทยาการซึ่งมีความจำเป็นที่ครูผู้สอนต้องเลือกสาระที่ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะสะเต็มศึกษา ซึ่งประกอบด้วยสาระวิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และผนวกกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเข้าไปใน 3 สาระเพื่อใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ มีทักษะการแก้ปัญหา มีทักษะการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะการสร้างนวัตกรรม มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับสะเต็มศึกษา เช่น แพทย์ วิศวกร ทันตแพทย์ เป็นต้น และช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร และนันทิยา น้อยจันทร์, 2558, หน้า 8; ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง, 2561, หน้า 67; วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา, 2559, หน้า 23-24; Rece Herboldsheimer and Paige Gordon, 2013, หน้า 1-4; Richard M. Felder and Rebecca Brent, 2016, p.231)
การสำรวจสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษาในโรงเรียนวัดดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม โดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการงานอาชีพและเทคโลยี พบว่าครูขาดความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เกี่ยวกับแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา นอกจากนี้ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจในการนำแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาที่บูรณาการรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และการงานอาชีพเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาครู โดยเฉพาะครูระดับประถมศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษา
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับครูประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
References
ปฐมวัย.วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.(หลักสูตรและการสอน).นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ถ่ายเอกสาร.
ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร และนันทิยา น้อยจันทร์. (2558). การจัดกิจกรรม STEM Education สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ : เอ็ดดูเคชั่นแนลเทคโนโลยี (เอ็ด-เทค) จำกัด.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2557). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพสำหรับครูประถมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2561). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาตามแนวทางSTEM Education. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มารุต พัฒผล. (2558). “การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน.” วารสาร Veridian E-Journal, 8, 1 (มกราคม-เมษายน), 448-464.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ :อรุณการพิมพ์.
วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2555). “การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้.”วารสาร Veridian E-Journal, 4, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 10-24.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2561). ขอบฟ้าใหม่แห่งการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์อนาคต. กรุงเทพฯ:
บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด.
อรรถศาสน์ นิมิตรพันธ์. (2553).กรณีศึกษาการพัฒนาครูประจำการคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการศึกษาและพัฒนาบทเรียน.ปริญญานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.(คณิตศาสตร์ศึกษา).กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ่ายเอกสาร.
Bruce-Davis, M. N; et al. (2014). STEM high school administrators’, teachers’, and students’ perceptions of curricular and instructional strategies and practices. Journal of
Advanced Academics. 25(3): 272-306.
Rece Herboldsheimer and Paige Gordon.(2013). Curriculum Development Course at a Glance Planning For STEM. Sample Curriculum – Posted: February 15, 2013.
Shower and Joyce.(1996). “The Evolution of Peer Coaching.”Educational Leadership, 53(6), March : 12-16.
Richard M. Felder and Rebecca Brent. (2016). Teaching and Learning STEM A Practical Guide. USA: Jossey-Bass.