การพัฒนาโมเดลวัดความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับนักศึกษาครู

Authors

  • อรพิณ พัฒนผล มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จุฑามาศ แหนจอน
  • เสกสรร ทองคำบรรจง

Keywords:

Health Literacy, Validity, Measurement Model

Abstract

 

            การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาโมเดลการวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาครู 2) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างผลการวัดที่ได้จากแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพกับการศึกษาบันทึกประจำวันของนักศึกษาครู และ 3) เพื่อแสดงหลักฐานความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดความรอบรู้ทางสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 1,210 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลการวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของนักศึกษาครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 11 ตัวแปรงสังเกต คือ องค์ประกอบที่ 1 การเข้าถึงข้อมูล มี 3 ตัวแปรสังเกต คือ การรับข้อมูลสุขภาพ การสืบค้นข้อมูลทางสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อ องค์ประกอบที่ 2 การทำความเข้าใจ มี 2 ตัวแปรสังเกต คือ ความเข้าใจในข้อมูลสุขภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการสื่อสาร มี 1 ตัวแปรสังเกต คือ ทักษะการสื่อสารข้อมูลทางสุขภาพ องค์ประกอบที่ 4 ทักษะการตัดสินใจ มี 2 ตัวแปรสังเกต คือ การวิเคราะห์ทางเลือก และการเลือกแนวทาง และองค์ประกอบที่ 5 การจัดการตนเอง มี 3 ตัวแปรสังเกต คือ การกำหนดเป้าหมายของการส่งเสริมสุขภาพ การปฏิบัติตนตามแนวทาง และการปรับเปลี่ยนแนวทาง 2) ผลการวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่ได้จากแบบวัดความรอบรู้ทางสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอดคล้องกับการศึกษาบันทึกประจำวันของนักศึกษาครู 3) โมเดลการวัดความรอบรู้ทางสุขภาพสำหรับนักศึกษาครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

กมลวรรณ ตังธนกานนท์. (2557). การวัดและประเมินทักษะการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองสุขศึกษา. (2561). การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. มปท.
จีรนันท์ แก้วมา. (2559). การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสุขภาพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและพลศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลริสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรปวีณ์ แก้วนพรัตน์, อัจศรา ประเสริฐสิน และอมราพร สุรการ. (2560). “การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความ ฉลาดทางสุขภาพของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี”. วิชาการสาธารณสุข, 26(2), 382-389.
เพชรรัตน์ เกิดดอนแฝก; สุพรรณี ธรากุล. (2555). “สถานการณ์ครูอนามัยในประเทศไทย”. วิชาการสาธารณสุข, 21(3), 499-512.
อทิติยา อินแก้ว. (2558). “การพัฒนาเครื่องมือวัดความฉลาดทางสุขภาวะของนักเรียน”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(1), 262-273.
Drost, E.A. (2011). Validity and Reliability in Social Science Research. Education Research and Perspectives, 38, 105- 123.
Flaherty K. (2016). Diary Studies : Understanding Long-Term User Behavior and Experiences. Retrieved June 13, 2018, from https://www.nngroup.com/articles/diary-studies/.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Nutbeam D. (2006). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.
Nutbeam D. (2009). Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies?, Int J Public Health, 54, 303-305.
Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H., & Müller, H. (2003). Evaluating the fit of structural equation models: Test of significance and descriptive goodness-of-fit measures. Methods of Psychological Research, 8(2), 23-74.

Downloads

Published

2019-12-25