ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเหตุและผลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสร้างหลักการสรุปของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกสังคมศึกษา

Authors

  • กิตติศักดิ์ ลักษณา Department of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, Ramkhamhaeng University

Keywords:

Cause and effect instructional model, generalizations, learning achievement, teaching social studies

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักศึกษากลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเหตุและผล กับนักศึกษากลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) วิเคราะห์พัฒนาการความสามารถในการสร้างหลักการสรุปของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเหตุและผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต วิชาเอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่เรียนในรายวิชาเหตุการณ์ปัจจุบันสำหรับครูสังคมศึกษา ในภาคการศึกษา 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนเหตุและผล แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความสามารถในการสร้างหลักการสรุป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบทีแบบไม่อิสระและแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) นักศึกษากลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความสามารถในการสร้างหลักการสรุปโดยภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในการสร้างหลักการสรุปโดยภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นตามลำดับระยะเวลาการทดสอบทั้ง 4 ครั้ง

References

กิตติศักดิ์ ลักษณา. (2558). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนเหตุการณ์ปัจจุบันในระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กิตติศักดิ์ ลักษณา. (2560). สังคมศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษา 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชวนพิศ สิงห์เย็น. (2560). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเหตุและผลที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 417-431.
ธนชพร พุ่มภชาติ. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้รูปแบบเหตุและผลที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรดี ศรีสยาม และวลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาสันติภาพที่เน้นการคิดวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ตามแนวสันติวิธีสําหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. OJED, 7(1), 2286-2297.
Adler, S., & Moi, K. (2017). Identifying what to teach: Using concepts, generalizations and driving questions. HSSE Online, 6(2), 28-37.
Beal, C., & Bolick, C. (2013). Teaching social studies in middle and secondary schools. 6th ed. Boston, PA: Pearson.
Deveci, H. (2007). Teachers’ views on teaching current events in social studies. Educational Sciences: Theory & Practice, 7(1), 446-451.
Ediger, M., & Bhaskara Rao, D. (2007). Teaching social studies successfully. New Delhi: Discovery.
Erickson, L., & Lanning, L. (2014). Transitioning to concept-based curriculum and instruction: How to bring content and process together. Thousand Oaks, CA: Corwin.
Eristi, B., & Kucuker, F. (2011). Effectiveness of the cause and effect model based instruction on improving information technology related ethical conduct among k-8 students. Educational Sciences and Practice, 10(19), 25-47.
Gunter, M., Estes, T., & Mintz, S. (2007). Instruction: A model approach. 5th ed. Boston, MA: Pearson.
Haas, M., & Laughlin, M. (2000). Teaching current events: Its status in social studies today. Paper presented at the Annual Meeting of the American Educational Research Association (New Orleans, LA, April 24-28, 2000).
Johnson, A. (2010). Making connections in elementary and middle school social studies. 2nd ed. Los Angeles, CA: SAGE.
Kochhar, S. (2009). The teaching of social studies. New Delhi: Sterling.
Larson, B. (2016). Instructional strategies for middle and high school social studies: Methods, assessment, and classroom management. 2nd ed. New York, NY: Routledge.
Manchekar, S. (2015). Scientific methods of teaching history. Solapur: Laxmi.
McKinney, C., & Edgington, W. (1997). Issues related to teaching generalizations in elementary social studies. The Social Studies, 88(2), 78-81.
Parker, W. (2001). Social studies in elementary education. 11th ed. Upper Saddle River: Merrill Prentice Hall.
Parsons, J., & Schroder, M. (2015). Tools for teaching social studies: A how-to handbook of useful ideas and practical solutions. 2nd ed. Calgary: Brush Education.
Pescatore, C. (2007). Current events as empowering literacy: For English and social studies teachers. Journal of Adolescent and Adult Literacy, 51(4), 326-339.
Shiveley, J., & Misco, T. (2009). Reclaiming generalizations in social studies education. Social Studies Research and Practice, 4(2): 73-78.
Taba, H. (1967). Teacher's handbook for elementary social studies. Palo Alto, CA: Addison-Wesley.
Turner, T. (1995). Riding the rapids of current events!. The Social Studies, 86(3), 117-121.

Downloads

Published

2019-11-29