การตรวจสอบความตรงของโมเดลการวัดเอกลักษณ์แห่งตนเพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมเอกลักษณ์ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย

Authors

  • สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล Srinakharinwirot University
  • ชนินทร์ สกุลอิสริยาภรณ์
  • นัยนา ถาวรายุศม์

Keywords:

identity, adolescent, measurement model

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความตรงองค์ประกอบของเอกลักษณ์แห่งตนในประชากรกลุ่มวัยรุ่นและวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดเอกลักษณ์แห่งตนในวัยรุ่นที่มีช่วงอายุต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 350 คน และกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 339 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดเอกลักษณ์แห่งตนที่พัฒนาขึ้นและผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือ นำมาวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ประมาณค่าความสัมพันธ์และน้ำหนักองค์ประกอบด้วยโปรแกรมลิสเรล

            ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของเอกลักษณ์แห่งตนของกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย มีรูปแบบโมเดลการวัดที่เหมือนกันประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัดองค์ประกอบด้านกระบวนการ ได้แก่ การยึดมั่นในเอกลักษณ์ และการค้นหาเอกลักษณ์อย่างลึกซึ้ง โดยในแต่ละองค์ประกอบด้านกระบวนการ แยกได้เป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านการคิดอุดมคติ และด้านสัมพันธภาพกับผู้อื่น ทั้งนี้โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี ส่วนการวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างช่วงอายุ พบว่าทั้งสองกลุ่มประชากรมีลักษณะรูปแบบความสัมพันธ์ของโมเดลการวัดไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันที่พารามิเตอร์ พร้อมกันนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมเอกลักษณ์แห่งตนที่เหมาะสมกับวัยรุ่นทั้ง 2 กลุ่ม

References

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2541). ตำราขั้นสูง เรื่อง ทฤษฎี การวัด และงานวิจัยเอกลักษณ์แห่งอีโก้ในคนไทยและเทศ.
กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธิดารัตน์ แย้มนิ่ม. (2558). ปัจจัยทางชีวสังคมที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เนาวรัตน์ เหลืองรัตนเจริญ. (2541). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อเอกลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.
ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปรีชา ธรรมา. (2548). สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 34 (ม.ค. 2548), หน้า 49-64.
พนิดา ทองเงา ดอร์น สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล และสิริวรรณ ศรีพหล (2561). การพัฒนาโมเดลการวัดคุณลักษณะความ
ยึดมั่นในความเป็นพลเมืองสำหรับเยาวชนไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 32, ฉบับพิเศษ, 39-52.
พลรพี ทุมมาพันธ์. (2554). ผลการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมของครูที่มี
ต่อพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริง.
วิทยานิพนธ์ วท.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ราชบัณฑิตยสถาน (2553). พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยาฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ไอเดียร์ สแควร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่ม 2 วัยรุ่น – วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2558). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยการเป็นผู้เรียนแบบรีเฟล็กทีฟ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 7, 1-14.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2558). จิตวิทยาพื้นฐาน. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธิพงศ์ วัฒนานนท์สกุล. (2561). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: พริ้นคอนเนอร์.
อุษา ศรีจินดารัตน์. (2533). พัฒนาการของเอกลักษณ์แห่งอีโก้ที่เกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของการทำงานและการรับรู้คุณค่า
ของศาสนา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.


ภาษาอังกฤษ:
Balistreri, E., Busch-Rossnagel, N. A., & Geisinger, K. F. (1995). Development and preliminary
validation of the Ego Identity Process Questionnaire. Journal of Adolescence, 18, 179-192.
Castellanos-Ryan, N., O'Leary-Barrett, M., & Conrod, P. J. (2013). Substance use in childhood and
adolescence: A brief overview of developmental processes and their clinical
implications. Journal of the Canadian Academy of Child and Adolescent Psychiatry /
Journal de l'Académie canadienne de psychiatrie de l'enfant et de l'adolescent, 22(1),
41-46
Crocetti, E., Cieciuch, J., Gao, C., Klimstra, T., Lin, C., Matos, P. M.,…, Meeus, W. (2015). National
and gender measurement invariance of The Utrecht-Management of Identity
Commitments Scale (U-MICS): A 10-nation study with university students. Assessment, 22, 753-768.
Crocetti, E., Rubini, M., Luyckx, & Meeus, W. (2008). Capturing the dynamics of identity formation
In various ethnic groups: Development and validation of a three-dimensional model. Journal of
Adolescence, 31, 207-222.
Crocetti, E., Erentaite, R., & Zukauskiene, R. (2014). Identity styles, Positive Youth Development,
and civic engagement in adolescence. Journal of Youth and Adolescence, 43, 1818-1828.
Dumas, T. M., Ellis, W. E., & Wolfe, D. A. (2012). Identity development as a buffer of adolescent risk
behaviors in the context of peer group pressure and control. Journal of Adolescence, 35,
917-927.
Erikson, E. H. (1968). Identity youth and crisis. New York: W.W. Norton.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data
analysis (Vol. 6). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Hatano, K., Sugimura, K., & Crocetti, E. (2016). Looking at the dark and bright side of identity
formation: New insights from adolescents and emerging adults in Japan. Journal of
Adolescence, 47, 156-168.
Hongjoy, P., & Wattananonsakul, S. (2017). The Effect of Identity on Risk-taking in Middle
Adolescence: The Mediating Role of Positive Youth Development. The Asian Conference
on Psychology & the Behavioral Sciences 2017 Official Conference Proceedings (pp.1-11).
Aichi, Japan: The International Academic Forum (IAFOR).
Jöreskog, K. G. & Sörbom, D. (1996). LISREL 8: User’s reference guide. Chicago: Scientific Software International.
Kerpelman, J. L., Pittman, J. F., Cadely, H. S., Tuggle, F. J., Harrell-Levy, M. K., & Adler-Baeder,
F. M. (2012). Identity and intimacy during adolescence: Connections among identity styles,
romantic attachment and identity commitment. Journal of Adolescence, 35, 1427-1439.
Kim, B.K.E., Oesterle, S., Catalano, R.F., & Hawkins, J.D. (2015). Change in protective factors
across adolescent development, Journal of Applied Developmental Psychology,
40, 26-37.
Kroger, J., Martinnussen, M., & Marcia, J. E. (2010). Identity status change during adolescence and young adulthood: A meta-analysis. Journal of Adolescence, 33, 683-698.
Kroger, J. (2000). Identity development: Adolescence through adulthood. California: Sage.
Lermer, R. M. (2002). Adolescence: Development, diversity, context, and application.
Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Luyckx, K., Klimstra, T. A., Duriez, B., Van Petegem, S., Beyers, W.,…, & Goosens, L. (2013).
Personal identity processes and self-esteem: Temporal sequences in high school
and college students. Journal of Research in Personality, 47, 159-170.
Marcia, J. E. (1980). Identity in adolescence. In J. Adelson (Ed.), Handbook of adolescent psychology (pp. 159-187). New York: Wiley.
Meeus, W., (2001). A three-dimensional measure of identity: The Utrecht-Management of
Identity CommitmentsScale (U-MICS). Unpublished Manuscript, Research Centre
Adolescent Development, Utrecht University,The Netherlands.
Morsunbul, U., Crocetti, E., Cok, F., & Meeus, W. (2014). Brief report: The Utrecht-Management of
Identity Commitments Scale (U-MICS): Gender and age measurement invariance and
convergent validity of the Turkish version. Journal of Adolescence, 37, 799-805.
Morsunbul, U., Crocetti, E., Cok, F., & Meeus, W. (2016). Identity statuses and psychosocial
functioning in Turkish youth: A person-centered approach. Journal of Adolescence, 47,
145-155.
Padilla-Walker, L. M., Barry, C. M., Carroll, J. S., Madsen, S. D., & Nelson, L. J. (2008). Looking on the
bright side: The role of identity status and gender on positive orientations during emerging
adulthood. Journal of Adolescence, 31, 451-467.
Schwartz, S. J., Hardy, S. A., Zamboanga, B. L., Meca, A., Waterman, A. S.,…, & Forthun, L.F.
(2015). Identity in young adulthood: Links with mental health and risky behavior.
Journal of Applied Developmental Psychology, 36, 39-52.
Schwartz, S. J., Brent Donnellan, M., Ravert, R.D., Luyckx, K., & Zamboanga, B. L. (2012). Identity
development, personality, and well-being in adolescence and emerging adulthood:
Theory, research, and recent advances. In I. B. Weiner, R. M. Lerner, M. A. Easterbrooks, & J. Mistry
(Eds.), Handbook of psychology: Vol. 6. Developmental psychology (2nd ed.) (pp. 339-364).
Hoboken, NJ: Wiley.
Steinberg, L. (1996). Adolescence (4th ed.). Boston: McGraw-Hill.
Wattananonsakul, S., Suttiwan, P., & Iamsupasit, S. (2010). Pathways to smoking and drinking: The
role of family functioning, supporting parenting, self-control, risk and protective factors in
Thai adolescents. Journal of Health Research, 24, 135-142.

Downloads

Published

2019-11-29