การพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552
Keywords:
Learning Outcomes, General Education Program Development, Undergraduate Characteristics, Thailand Qualifications Framework for Higher Education 2009Abstract
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อศึกษามาตรฐานผลการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (ปริญญาตรี) 2) เพื่อพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ 2. การพัฒนา (ร่าง) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3. การวิพากษ์ (ร่าง) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4. การประเมินผล (ร่าง)หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
ผลการวิจัยจำแนกตามวัตถุประสงค์เฉพาะของการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า 1) มาตรฐานผลการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (ระดับปริญญาตรี) จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ได้แก่ ซื่อสัตย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละเพื่อส่วนรวม และตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม 2. ด้านความรู้ ได้แก่ มีความรู้พื้นฐานศึกษาทั่วไป 3. ด้านทักษะทางปัญญา ได้แก่ สามารถประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหาได้ สามารถประเมิน วิพากษ์ สถานการณ์ต่างๆโดยใช้ความรู้เป็นฐาน และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรม 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ได้แก่ ทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ร่วมงานได้ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขเพื่อให้เข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหา สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล และเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ 2) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาศัยหลักการในการบูรณาการแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรแบบเกณฑ์ความสามารถ (Competency-Based Curriculum) ร่วมกับหลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum) ประกอบด้วยรายวิชาที่ครอบคลุมทั้งด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ สอดคล้องกับความหมายของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 โดยกำหนดจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และการกระจายมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชาศึกษาทั่วไปมีความครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดสอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (ปริญญาตรี) องค์ประกอบของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 1.วัตถุประสงค์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2. สถานะของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3.หน่วยงานที่รับผิดชอบ 4. โครงสร้างหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 5.รายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6. คำอธิบายรายวิชา 7. มาตรฐานผลการเรียนรู้ แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา และกลยุทธ์การสอนและการประเมินผล ที่เน้นให้นิสิตได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Active Learning) เพื่อเอื้อต่อพัฒนานิสิตให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและนิสิต ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องขององค์ประกอบหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยผู้เชี่ยวชาญภายในที่มีประสบการณ์ทั้งด้านการสอนวิชาศึกษาทั่วไปและวิชาชีพจากคณะที่มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่า ความเหมาะสมขององค์ประกอบมีค่าเฉลี่ย 0.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.02 และความสอดคล้องขององค์ประกอบมีค่าเฉลี่ย 1.00 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และมีผลการประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกที่เป็นผู้บริหารหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตจากกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.96 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
References
เครือข่ายการศึกษาทั่วไปแห่งประเทศไทย. (2557). รายงานฉบับย่อ กรอบแนวคิดหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่
สอดคล้องตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2549). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.
ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: ธนรัช.
บุญชม ศรีสะอาด. 2540. การวิจัยทางการวัดและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชา มศว 151 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ กรุงเทพมหานคร: สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาการศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปและวิธีดำเนินการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทธิรา ธีรสวัสดิ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารนวัตกรรม สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). คู่มือหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559).กรุงเทพมหานคร: สำนักทะเบียนและประมวลผล.
มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์. (2557). วิชาศึกษาทั่วไป ปรับปรุง พ.ศ. 2557. ปทุมธานี : งานศึกษาทั่วไป
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2552). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สืบค้นจาก https://gened.kmutt.ac.th/paper/GEN_KMUTT, 9 มีนาคม 2558.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2552). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรประบปรุง 2552). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (ม.ป.ป.). ศิลปศาสตร์กับวิชาชีพ. (เอกสารประกอบการสอน).กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อัดสำเนา).
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : อาร์ แอนด์ ปรินท์ จำกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2552. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
Desha, C & Hargroves, Charlie K. (2014). Higher Education and Sustainable Development: a Model for Curriculum Renewal. New York: Rutledge.
Hutchins, Robert Maynard (1967). The Higher Learning in America. (Thirthteenth Printing).
Connecticut: Yale University Press.
Negrut, V. & Arsith M. (2013). Designing and Implementing Competency Based Curriculum: Student-Centered Education. Berlin: Lambert Academic Publishing.