การศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรในด้านปัจจัยสนับสนุนและความสุข ด้านการเรียนการสอนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2559 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • สุดา ขำดำรงเกียรติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไพลิน บุนนาค คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ปัจจัยสนับสนุน, ความสุขด้านการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาระดับความพึงพอใจและเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีต่อหลักสูตรในด้านปัจจัยสนับสนุนและความสุขด้านการเรียนการสอน โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวน  ผลการศึกษาพบว่าบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้าน การวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล  คือ เพศ ระบบการสอบคัดเลือก  ประเภทของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจในด้านปัจจัยสนับสนุนและความสุขด้านการเรียนการสอนที่ไม่แตกต่างกัน 

References

1. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ. ร่างกรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574, พ.ศ.2560.
2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552, 2552.
3. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2541. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ; 2541.
4. พระไพศาล วิสาโล. ความสุขของนักศึกษาเพื่อปัญญาของแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
5. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการด้านการจัดการ
ศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการ
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555.
6. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น; 2545.
7. ภาศิริ เขตปิยรัตน์และสินีนาถ วิกรมประสิทธิ. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ (4ปี) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2553. รายงานการวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2554.
8. รัตนา พรมภาพ. ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2551.
9. กองแผนงาน สํานักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อมหาวิทยาลัยสารคาม ปีการศึกษา 2558.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2558.
10. ภาณุวัฒน์ สว่างแสง และนุชวนา เหลืองอังกูร. แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีระบบรับตรงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา2554.วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม 2555;1:172–178.
11. อุทุมพร ไวฉลาด และ จงดี โตอิ้ม. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารบัณฑิตศึกษา 2559;2:165-177.
12. สมชาย บุญสุ่น. ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2554.
13. อุทุมพร ไวฉลาด และวันทนีย์ โพธิ์กลาง. ศึกษาความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหิดล. Mahidol R2R e-Journal 2557;2:55-75.
14. อาจารีย์ ประจวบเหมาะ ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล นภัสสร ตื่มสูงเนิน และฉัตรมงคล จันทราทิพย์. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดระบบการเรียนการสอนหลักสูตร สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร2554;33:77-86.
15. ปัทมา ทองสม. การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสุขในการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2554;1:88-111.
16. จิราภรณ์ สรรพวีรวงศ์ ภัทรกันย์ ติเอียดย่อ จันทนี ปลูกไม้ดี ศรัญญา ทิ้งสุข สุพรรษา สุดสวาท และกนกพร สงปราบ. ความสุขของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2559;5:269 – 279.
17. ยุคลธร แจ่มฤทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อวิชาชีพ รูปแบบการใช้ชีวิตของนักศึกษาการดูแลนักศึกษาของอาจารย์และบรรยากาศการเรียนรู้กับการใฝ่รู้ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต] กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
18. ธนพล บรรดาศักดิ์ กนกอร ชาวเวียง และนฤมล จันทรเกษม. ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2560;1:357-36.
กรอบแนวคิดในการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-20