Publication Ethics
วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์บทความลงในวารสารโดยอ้างอิงมาตรฐานจาก COPE – COMMITTEE ON PUBLICATION ETHICS (https://publicationethics.org/)
วารสารได้ระบุผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของวารสาร ดังนี้ 1. ผู้นิพนธ์ 2. บรรณาธิการ และ 3. ผู้ประเมินบทความ ซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จริยธรรมและบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่นำเสนอเกิดจากการสังเคราะห์ความคิดขึ้นโดยผู้เขียนมิได้แอบอ้าง นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในผลงานของตน ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นโดยจัดทำเอกสารอ้าอิงท้ายบทความ
2. บทความที่นำเสนอจะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่าการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น หากตรวจพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. ผู้เขียนต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
4. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยนี้ (หากมี)
5. ผู้เขียนต้องจัดทำต้นฉบับตามข้อกำหนดของกองบรรณาธิการวารสาร โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่เมนู Author Guidelines
6. ผู้เขียนจะต้องแก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการตามเงื่อนไขที่วารสารกำหนด
7. เนื้อหาทั้งหมดของบทความที่เผยแพร่ในวารสาร ผู้เขียนผลงานทุกคนร่วมกันดำเนินงานจริงและได้ดำเนินการตรวจสอบก่อนเผยแพร่แล้ว
8. หากผู้เขียนดำเนินการวิจัยที่มีการทำวิจัยในคนให้ปฏิบัติตามจริยธรรมการวิจัยในคน และระบุรายละเอียดการอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยหรือ Certificate of Approval / หากเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ควรปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ http://www.labanimals.net/index.php/component/content/category/8-onsra.html / การดำเนินการวิจัยเกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่หรือพันธุวิศวกรรม http://www.biotec.or.th/biosafety/index.php/guideline
บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการควรดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์ เพื่อรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ตีพิมพ์
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และ ผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างขั้นตอนการประเมินบทความ
3. การตัดสินใจของบรรณาธิการต่อการยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ ควรขึ้นอยู่กับความสำคัญ ความใหม่ และความชัดเจนของบทความ ตลอดจนความเกี่ยวข้องกับขอบเขตของวารสาร
4. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และกองบรรณาธิการ
5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความ การคัดลอกผลงานผู้อื่นอย่างจริงจังเพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกทางวรรณกรรม
6. บรรณาธิการควรมีช่องทางให้ผู้นิพนธ์อุทธรณ์ได้หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของบรรณาธิการ และบรรณาธิการควรมีการตอบกลับคำร้องเรียนในทันที
7. หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายของวารสาร เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมายและขอบเขตของวารสาร บรรณาธิการต้องดำเนินงานโดยผ่านความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ และบรรณาธิการควรแจ้งให้ผู้เขียน ผู้ประเมินบทความและผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับ ไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความที่ส่งมาพิจารณาแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างขั้นตอนการประเมินบทความ
2. หากผู้ประเมินพบว่าบทความมีการโจรกรรมทางวิชาการ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้บรรณาธิการรับทราบ
3. ผู้ประเมินต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ อันจะส่งผลให้ไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ทั้งนี้หากผู้ประเมินพบว่าตนเองมีผลประโยชน์ทับซ้อนควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารรับทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
4. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความที่ตนเองมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ
5. ผู้ประเมินควรให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบทความให้มีคุณภาพ การให้ข้อเสนอแนะต่อบทความ ควรพิจารณาตามหลักวิชาการ ไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนบุคคลที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
6. ผู้ประเมินควรตอบกลับผลประเมินส่งแก่บรรณาธิการตามกระบวนการดำเนินงานของวารสาร
7. ข้อเสนอแนะของผู้ประเมินเป็นข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อบรรณาธิการ แต่การยอมรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบรรณาธิการ