การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเป็นฐานและการโค้ช เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ตันสุวรรณ สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • กรัณย์พล วิวรรธมงคล สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • ญดาภัค กิจทวี สาขาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา, การเรียนรู้เชิงรุก, การใช้คำถามเป็นฐาน, การโค้ช, การเสริมสร้างความเป็นพลเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเป็นฐานและการโค้ช เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ในประเด็นต่อไปนี้ 2.1) เพื่อประเมินความเป็นพลเมืองด้านความรู้ 2.2) พฤติกรรมการแสดงออกความเป็นพลเมือง และ 2.3) ศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมือง ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ได้กลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามเป็นฐานและการโค้ช เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบความรู้ เรื่อง พลเมืองดีของสังคม แบบสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกความเป็นพลเมือง และแบบวัดคุณลักษณะความเป็นพลเมือง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติต่าง ๆ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย    ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Independent และ Post-test กำหนดนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t0.05, 39 = 1.68) ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.15/81.25 ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านความรู้หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้น การแสดงออกความเป็นพลเมืองของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก นักเรียนมีพฤติกรรมการแสดงออกความเป็นพลเมืองอย่างสม่ำเสมอ และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนักเรียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา; 2560: หน้า 159.

ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ และ จารุวรรณ แก้วมะโน. การสร้างสำนึกพลเมือง. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส; 2558.

มารุต พัฒผล. การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2557. หน้า 16.

ถวิลวดี บุรีกุล, เออเจนี เมริโอ, และ รัชวดี แสงมหะหมัด. พลเมืองไทย: การสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า; 2557.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ; 5. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2560: หน้า 71.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ บทบาทครูกับการวิจัยในชั้นเรียน.กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิคจำกัด; 2544.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2556;56:11.

วาสนา เจริญไทย. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความ สามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (คณิตศาสตร์ศึกษา). ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

Barnes BL. Relationship between mental health and job efficiency. Acta Psychiatrica Scandinavica 1984;69:466-71.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ; 2562.

นภัส ศรีเจริญประมง และ วราลี ถนอมชาติ. การพัฒนาทักษะการคิด โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิจัยรำไพพรรณี2562;3:182.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน:จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธ; 2557.

มารุต พัฒผล. การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิด และความสุขในการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2557. หน้า 447.

วิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒผล. การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์; 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-08