การศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
รูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์, ชีวิตวิถีใหม่, สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย ของสำนักงานออกแบบ และกลุ่มนักออกแบบภูมิทัศน์อิสระ และจากข้อมูลออนไลน์ ในสมุดหน้าเหลือง (สำนักงานออกแบบภูมิทัศน์/ออกแบบสวน) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์และทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ใช้การอธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบภูมิทัศน์ มากที่สุดคือปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 67.00 การออกแบบภูมิทัศน์มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ร้อยละ 54.00 และการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ได้รับผลกระทบบ้าง ร้อยละ 70.00 อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ร้อยละ 19.00 สำหรับแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ พบว่าการออกแบบมีเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ต้องคำนึงถึงที่ว่าง(Space) ในการสร้างบรรยากาศให้เกิดความโปร่ง โล่ง สบาย อากาศถ่ายเทได้ดี การออกแบบกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกควรมีการเว้นระยะปลอดภัยของบุคคลอย่างน้อย 6 ฟุตหรือ 2 เมตร แนวคิดในการออกแบบควรต้องเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้พืชสมุนไพร, พืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และดูแลรักษาง่าย
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 ธันวา คม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://covid19.ddc.moph.go.th/
ประกายดาว แบ่งสันเที๊ยะ. สถานการณ์โควิด 19.หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564].เข้าถึงได้ https://www.bangkokbiznews.com/business/903495
เดชา บุญค้ำ. การปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.
ประภาพร ธาราสายทอง. ภูมิทัศน์เพื่อการบำบัดจิต [วิทยานิพนธ์ ภูมิสถาปัตยกรรม]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.
Nitayaporn M. New Normal ชีวิตวิถีใหม่.บทความด้านสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288
พีรพัฒน์ ใจแก้วมา. การศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตแบบปรกติใหม่ของประชาชนชาวไทยระหว่างวิกฤตโควิด-19ที่ปรากฎในสื่อออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี]. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรการการดำเนินงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับพัฒนา “สถานที่ทำงานต้านโควิด19 ในฐานวิถีชีวิตใหม่: New Normal” [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1119620210315035004.pdf
รมย์ชลีรดา ด่านวันดี. เอกสารคำสอนการออกแบบวางผังพืชพรรณ. พิมพ์ครั้งแรก. เชียงใหม่:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2559.
สุนทร บุญญาธิการ. เทคนิคการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.
ภัทรนันท์ ทักขนนท์. สภาวะน่าสบาย: พื้นฐานและแบบจำลองสำหรับภูมิอากาศร้อนชื้น. วารสารหน้าจั่ว 2547-2548;21:133-46.
Booth NK. Basic Element of Landscape Architectural Design. USA: Department of Landscape Architecture, Ohio State University; 1983; 439-45.
Taro Y. Statistic: An Introduction Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row; 1973.
แคตตาล็อกออนไลน์. หมวดหมู่: สำนักงานออกแบบ, กลุ่มนักออกแบบภูมิทัศน์อิสระ.[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก www.yellowpages.com
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้.รายชื่อสถานประกอบการสหกิจศึกษา: งานบริการการศึกษา; 2564.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อมมูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2537.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล