การพัฒนาระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติบนระบบอีเลิร์นนิง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ชุลีพร ปิ่นธนสุวรรณ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ประกาศนียบัตรอัตโนมัติ, อีเลิร์นนิง, ประสิทธิภาพของระบบ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติ บนระบบอีเลิร์นนิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติบนระบบ    อีเลิร์นนิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติบนระบบอีเลิร์นนิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติ ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิด ตามทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ SDLC แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบ และอาจารย์ที่สมัครรับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติ บนระบบอีเลิร์นนิงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่พัฒนาขึ้น สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้งานได้จริง และช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสอบผลการฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ ใช้เป็นหลักฐานยืนยันผลการฝึกอบรมได้ อีกทั้งยังมีความแม่นยำและช่วยลดความผิดพลาดในการตรวจสอบผลการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test)  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ (Functional Test) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) และด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)  พบว่ามีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน ผลการประเมินความพึงพอใจของระบบพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบออกประกาศนียบัตรอัตโนมัติบนระบบอีเลิร์นนิง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมมากที่สุด

References

สำนักคอมพิวเตอร์. ข้อมูลสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก http://courseware.npru.ac.th/

Gokulakrishnan S, Sarma CS. An approach to e-certificate designing with auto-emailing. International Journal of Scientific Research and Engineering Trends 2020;6(3):2395-566.

Stair RM. Principles of Information Systems: A Managerial Approach. 2nd ed. Massachusetts: Boyd and Fraser; 1996.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน; 2560.

สมพล สุขเจริญพงษ์ และเดช ธรรมศิริ. การพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับโดยเทคโนโลยีรหัสคิวอาร์ และบรรจุภัณฑ์การค้าปลีกสำหรับส้มโอในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2560;5(1):67-78.

Rensis L. The Method of Constructing and Attitude Scale. In: Fishbeic M, editor. Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley and Son; 1967.

สำนักคอมพิวเตอร์. หลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้สมัครรับทุนสนับสนุนการจัดทำบทเรียนออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://online-courses.npru.ac.th

Albar D, Perdana BFF. Designing digital certificate issuance information system. IOP Series: Materials Science and Engineering 2021;10.1088

กรกฎ ผกาแก้ว. การพัฒนาระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารวิชาการ ปขมท. 2563;10(1):112-9.

วาสนา เสนาะ, รณกร รัตนธรรมมา และสิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์. การพัฒนาระบบใบรับรองกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2560.

เกยุรา ไชยนาพงศ์. ระบบการจัดการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. [สารนิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07