ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คำสำคัญ:
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, ประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง, การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ, การวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และศึกษาผลกระทบของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการจัดหาพัสดุ และด้านการบริหารพัสดุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างโดยรวม (r = 0.738, 0.697, 0.709 ตามลำดับ) และปัจจัยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างโดยรวม ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (B = 0.354, p < 0.0001) ด้านการจัดหาพัสดุ (B = 0.256, p = 0.009) และด้านการบริหารพัสดุ (B = 0.285, p = 0.003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
ขนิษฐา ไชยพันธุ์, รุ้งสินี เขียวงาม, ภิญญาพัชญ์ ญานะคา, และมานพ แก้วโมราเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย 2563;13 (1):66-79.
วิภาพร หมื่นมาณี. ห่วงโซ่คุณค่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุของวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ 2559;7 (1):75-105.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2560.
ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210ง. ราชกิจจานุเบกษา; 2560 หน้า 1-71.
สุพัตรา คำวงศ์. ประสิทธิภาพจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ระยะที่ 3 ในจังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2560.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แผนแม่บทบริหารทรัพย์สินด้านพัสดุ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช ปี 2554-2558. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก. ราชกิจจานุเบกษา; 2560 หน้า 13-54.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก www.web.msu.ac.th/msucont.php?mn=mhistory
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ค้นหาบุคลากร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://pd.msu.ac.th/pd7/statistics
Pedhazur EJ, Schmelkin LP. Measurement Design and Analysis: An Integrated Approach. New York: Psychology Press; 1991.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2547.
Nunnally JC. Psychometric Theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1978.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2553.
Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin; 1998.
Black K. Business Statistics for Contemporary Decision Making. 4th ed. USA: John Wiley and Son; 2006.
พิชามญชุ์ กาหลง. การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินงานจัดซื้อสินค้าสำหรับงานพัสดุ มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยวิธีเดลฟาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2564;8(1):44-52.
เฉลิมชัย อุทการ. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐกับประสิทธิภาพการบริหารพัสดุของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม [รายงานการวิจัย]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
วิลาวัลย์ เทียมเลิศ, วีรยา ภัทรอาชาชัย, และ มณิสรา สนั่นเอื้อเม็งไธสง. ผลกระทบของกลยุทธ์การบริหารพัสดุที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ 2562;11 (2):64-73.
วรนุช นิชานาญ, สุชาติ บางวิเศษ, และอุทัย ปลีกล่า. สภาพและปัญหาการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 2560;11(3):180-94.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล