ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์ ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรรัตน์ บุญเพ็ชร ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กมลทิพย์ จิตรอำพัน ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความสมดุลของชีวิตการทำงาน, บุคลากร, การบูรณาการทางสังคม, เงินเดือน, สวัสดิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งสิ้น 69 คน โดยกำหนดตัวอย่างขนาด 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อถือของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.928 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบของ Mann-Whitney U test และการทดสอบของ Kruskal–Wallis test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน (gif.latex?x\bar{}= 3.94, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ด้านลักษณะของงาน (gif.latex?x\bar{}= 3.85, S.D. = 0.49) ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า (gif.latex?x\bar{}= 3.70, S.D. = 0.63) และด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน (gif.latex?x\bar{}= 3.51, S.D. = 0.58) ตามลำดับ ส่วนด้านเงินเดือน/สวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?x\bar{}= 3.25, S.D. = 0.67) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และสังกัดในการทำงานปัจจุบัน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านลักษณะของงาน ด้านเงินเดือน/สวัสดิการ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน และภาพรวมไม่แตกต่างกัน  ส่วนบุคลากรที่มีรายได้ต่อเดือน และประเภทของบุคลากร แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านเงินเดือน/สวัสดิการ และด้านโอกาสการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

จุฑาภรณ์ หนูบุตร. ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษา: โรงพยาบาลวิภาวดี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

กิตติคุณ แสงนิล และคณะฯ. การสร้างความหมายทางสังคมและบริหารความสมดุลในชีวิตและการทำงานจากประสบการณ์ของนักศึกษาปริญญาเอก คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารเกษมบัณฑิต 2562;20(1): 114-30.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.bic.moe.go.th/images/stories/Porrorbor2542

ศิริชัย พงษ์วิชัย. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 25 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

ชลธิชา มะลิพรม. คุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561;5(ฉบับพิเศษ):212-21.

ปัทมาวรรณ จินดารักษ์ และคณะฯ. สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับความหลากหลายของ

กลุ่มวัย. มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารนักบริหาร 2562;39(1):3-11.

สุภา เข็มแข็งปรีชานนท์ และคณะฯ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 2563;11(1):169-90.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย EXCEL. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา; 2553.

ภาวิณี แสนวัน. การศึกษาปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน และปัจจัยด้านสังคม ที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ระบบค่าตอบแทน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564]. เข้าถึงได้จาก http://www.ocsc.go.th/compensation

กิตติ ชุณหศรีวงศ์. ความสมดุลของชีวิตการทำงานและครอบครัวของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2562;7(2):465-83.

ฐานิตตา สิงห์ลอ. ความสมดุลในชีวิตการทำงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาคเขต 3. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-26