แนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์ ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การจัดการ, ทรัพยากรมนุษย์, กระบวนการ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยจะเห็นได้จากผู้บริหารในหลายองค์กรที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงานมากขึ้น  เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกิดความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้น รวมถึงลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับงานบางประเภท  ดังนั้นทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานร่วมกับทรัพยากรอื่นๆ ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงต้องมีวิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับทรัพยากรอื่น เพื่อควบคุมทรัพยากรภายในองค์กรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

มนุษย์ หรือ คน เป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กร ผู้บริหารจึงต้องคำนึงถึงกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ กระบวนการดังกล่าวจึงควรเริ่มจากการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ทบทวนหน้าที่และความรับผิดชอบให้เหมาะสมกับคนและสอดคล้องกับตำแหน่งงานรวมถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน พัฒนาความรู้และทักษะของบุคคลให้เพิ่มมากขึ้น รักษาบุคคลที่มีศักยภาพให้อยู่กับองค์กรได้อย่างยั่งยืนโดยใช้หลักธรรมาภิบาลในการปกครอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและผู้บริหาร และยังเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับองค์กรอีกด้วย

References

Strack R, Bailey A, Lovich D, Baier J, Messenböck R, Ruan F, et al. People Priorities for the New Now. Boston Consulting Group [Internet]. 2020 [cited 2021 Nov 25]; Available from: https://web-assets. bcg.com/ img-src/BCG-People-Priorities-for-the-New-Now-Apr-2020_tcm9-245662.pdf.

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. ความปรกติใหม่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจหลังยุคโควิด-19. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2564;8(2):46-59.

ภิราช รัตนันท์. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัยในองค์การ. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;1(1):21-38.

สุรมงคล นิ่มจิตต์ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์การศักยภาพสูง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 2559;9(2):1-10.

ประคอง สุคนธจิตต์. ทรัพยากรมนุษย์ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ 2562;7;17-28.

โสมวลี ชยามฤต. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564;4(1):38-48.

อำไพ ไชยแก้ว. ความหมายของหลักการจัดการ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/aunripreya456/1-khwam-hmay-khxng-hlak-kar-cadkar.

กรรณิการ์ สุวรรณศรี.ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 9011106 การบริหารทรัพยากรมนุษย์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. (อัดสำเนา); 2556

จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์; 2558.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด; 2557.

Boselie P. Strategic Human Resource Management a Balanced Approach. 2nd ed. New York, USA: McGraw Hill Publishing; 2014.

เอกพิชญ์ ชินะข่าย. พัฒนาการแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 2561;7(1):157-67.

ประมุกข์ พรหมพุ้ย และ กรเอก กาญจนาโภคิน. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Visionary Leaders)]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล และ กฤติกา ลิ้มลาวัลย์. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์. Executive Journal 2560;11:168-73.

Boselie P, Van Harten J, Veld M. A human resource management review on public management and public administration research: stop right there…before we go any further…. PUBLIC MANAGEMENT REVIEW 2021;23(4):483-500.

ชัยธวัช เนียมศิริ. ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0: กรณีศึกษา จังหวัดขอนแก่น[หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร]. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร; 2561.

Siddique A, Aslam HD, Khan M, Fatima U. Impact of academic leadership on faculty’s motivation and organizational effectiveness in higher education system. International Journal of Academic Research 2011;3(3):730-5.

ยงยุทธ เกษสาคร อ้างใน ทศวรรณ เอี่ยมวิมังสา และ เกียรติชัย เจษฎาพันธุ์. การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2558;5(1):275-82.

สุนันทา เลาหนันทน์ อ้างใน กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.เอเซียเพรส (1989) จำกัด; 2557.

ปิยาพร ห้องแซง. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานสาขาธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร [ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-26