การประเมินปัจจัยที่ส่งผลการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • นายเกรียงศักดิ์ ยุทโท โรงเรียนผ่านศึกสงเคราะห์ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การแพทย์ฉุกเฉิน, การมีส่วนร่วม, สถานศึกษา, การประเมิน CIPP Model, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้การพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินตาม CIPP Model เสนอโดย แดเนียล แอล สตัฟเฟลบีม (Daniel L. Stufflebeam) เพื่อประเมินปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยด้านกระบวนการ  และปัจจัยด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครู จำนวน 8 คน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน นักเรียน จำนวน 275 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 299 คน  ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นโรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 8 โรงเรียน จาก 7 อำเภอของจังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2563 เครื่องมือที่เก็บข้อมูลมีจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น 1.ปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม 2. ด้านปัจจัยนำเข้า สำหรับ ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. ปัจจัยด้านกระบวนการสำหรับครู 4. ปัจจัยด้านผลผลิต (Product Evaluation) สำหรับนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย สรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินปัจจัยการพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และผลการประเมินปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้การพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีส่วนร่วมในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสำเร็จ 2. ผลการประเมินปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ปัจจัยผู้บริหาร ครู มีความพร้อมและเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลของการประเมินปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากสุด โดยปัจจัยการได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินปัจจัยด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยที่ผู้รับผิดชอบทุกคน ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย อย่างเต็มกำลังความสามารถ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ผลปัจจัยการประเมินด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาผลที่เกิดรายด้าน พบว่า บทเรียนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR)และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วย ไฟฟ้า (AED) ตามความคิดเห็นของนักเรียนมีความเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

นโยบายและยุทธศาสตร์. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2558. นนทบุรี: สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข; 2558.

บทความทางการแพทย์ โรงพยาบาลพญาไท 3. (ม.ป.ป.). ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก http://phyathai3hospital.com/heartcenter/heart_disease5.php.

Stufflebeam DL and Shinkfield AJ. Evaluation Theory, Models and Applications. CA,USA: Jossey-Bass; 2012.

พิษณุ ฟองศรี. เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ตี้พริ้นท์; 2551.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). เรื่องเล่าภาคี สถิติเหตุมรณะ.พรากชีวิตเด็กไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560]. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3HO53x7

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2556.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี (ปี 2554-2556) [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://bps. moph.go.th/content/test-basic-page-1-1.

กนกพร สมพร.การประเมินผลการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;7(2)52-8.

วิภาดา มุกดา.การประเมินระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยในศตวรรษที่ 21 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว 12 เมืองต้องห้ามพลาด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี2562;14:178-97.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล.การประเมินผลโครงการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา2556;19:31-45.

สุภา นิลพงษ์.การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลนุสรณ์ พุทธศักราช 2552 [ปริญญานิพนธ์ วท.ม (วิทยาการ ประเมิน)]. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.

นิศารัตน์ คงสวัสดิ์.การประเมินและติดตามผลการใช้หลักสูตรโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนฯ; 2560.

ภัคประวีร์ บุญธรรมวีรณัฐ. การประเมินกิจกรรมค่ายพัฒนาคุณธรรม โรงเรียนแม่ตืนวิทยา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่; 2554.

Ewing-Taylor, Jacque M., Ph.D., program for K-12 teachers was conducted using the CIPP evaluation model. University of Nevada, Reno; 2012.

Walker DA. An exploration of how disability support serbices are evaluated in select communities colleges. Chicago, Illinois, USA: Digital Commons@NLU; 2011.

Langford LL. The Development and Testing of an Evaluation Model for Special Education, May, 2010. USA: The University of Texas at Austin; 2010.

เกรียงศักดิ์ ยุทโท. การพัฒนารูปแบบการสอนด้านการแพทย์ฉุกเฉินในรายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนบนพื้นที่สูง. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, ชัจคเณค์ แพรขาว. ผลของโปรแกรมสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นต่อความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ วันที่ 10 มิถุนายน 2560 ณ อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

ปัญจ์ปพัชรกร บุญพร้อม, ถนัดตา มรกตศรีสุวรรณ และสิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์. ความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขตบางกอกใหญ่. วารสารนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ 2562;2:73-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-26