การพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินงานจัดซื้อสินค้า สำหรับงานพัสดุมหาวิทยาลัยมหิดลด้วยวิธีเดลฟาย

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ กาหลง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ตัวชี้วัด, เกณฑ์การประเมิน, งานพัสดุ, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินงานจัดซื้อสินค้าของมหาวิทยาลัยมหิดลให้มีความถูกต้องเชิงเนื้อหา และเป็นไปตามขอบเขตงานพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) การวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 14 คน ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิธีเดลฟาย (Delphi Method) ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินงานจัดซื้อสินค้าของมหาวิทยาลัยมหิดล มี 8 ข้อ ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 1 ระยะเวลาในการจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า (เหมาะสมมากที่สุด, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 2 ระยะเวลาในการจัดทำเอกสาร (เหมาะสมมาก, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 3 ระยะเวลาในการจัดทำราคากลางสินค้า (เหมาะสมมากที่สุด, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 4 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้าง (เหมาะสมมากที่สุด, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 5 ความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (เหมาะสมมาก, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 6ความคุ้มค่า ด้านคุณลักษณะในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (เหมาะสมมาก, สอดคล้องมากที่สุด) ตัวชี้วัดที่ 7 ความคุ้มค่า ด้านราคา ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (เหมาะสมมาก, สอดคล้องมากที่สุด) และตัวชี้วัดที่ 8 ความตรวจสอบได้ ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (เหมาะสมมาก, สอดคล้องมากที่สุด)

References

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. ราชกิจจานุเบกษา 2560;134(24ก),13-54.

ทัศนีย์ เสียงดัง และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. กลยุทธ์การบริหารงานพัสดุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานพัสดุของสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารการบัญชีและการจัดการ 2561;10(2):154-66.

ทิพยาพร เหมโส. การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) กับความเป็นไปได้ในการเกิดพฤติกรรมการสมยอมในการเสนอราคา (การฮั้ว) ของมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สาวิตรี พิชญชัย และ ณัชชา พวงสมบัติ. การใช้บริการงานพัสดุของบุคลากรในวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2559;3(2):41-55.

สำนักงาน ก.พ.. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนางานบุคคล สำนักงาน ก.พ.; 2552.

มหาวิทยาลัยมหิดล. แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2563-2566 ระยะ 4 ปี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

มนัส แจ่มเวหา และ โกมล จิรชัยสุทธิกุล. การปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐแนวใหม่. จุลนิติ 2559;13(5):1-25.

Burstein, Oakes, Guiton. Education indicators. In M. C. Alkin (Ed.), Encyclopedia of educational research (6th ed.). New York: Macmillan; 1992.

McMillan, Thomas T. The Delphi Technique. Proceedings of the annual meeting of California Junior; 1971 May 3-5; Monterrey. California: College Association Commission on Research and Development; 1971.

กระทรวงการคลัง. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง; 2560.

ปวริศา แสงคำ. ผลกระทบของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐแนวใหม่ ที่มีต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานบุคลากรด้านพัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2562.

วัชราภรณ์ ลาวงค์. ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอเล็กทรอนิกส์กับประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

ภัทรา คุณเวียง. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-27