ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • Saipin Thongpad Educational Affair Division, Faculty of Science, Mahidol University
  • จันศนีย์ ฉิมงาม สังกัดงานการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

มคอ.3, ความพร้อม, การรับรู้, ความรู้, ความเข้าใจ, ทัศนคติ, ทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมและปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมในการจัดทำ รายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3) ตามหลัก outcome-based education (OBE) ของผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ สังกัดภาควิชาคณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ พฤกษศาสตร์ และฟิสิกส์ จำนวน 125 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบทดสอบ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าที (T-test) ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี least significant difference (LSD) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ด้านทักษะในระดับมาก ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ความเข้าใจ ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ที่มี เพศ ช่วงอายุ หรือภาระงานที่รับผิดชอบแตกต่างกัน จะมีความพร้อมในการจัดทำ มคอ.3 ตามหลัก OBE ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ และด้านความรู้ความเข้าใจไม่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีอายุงาน ตำแหน่งทางวิชาการ หรือปัจจัยการรับรู้บางปัจจัยแตกต่างกัน จะมีความพร้อมด้านความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ผู้ที่สังกัดภาควิชาแตกต่างกัน ยังมีความพร้อมด้านทักษะและด้านความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ด้วย     

References

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2562]เข้าถึงได้จาก http://qa.siam.edu/images/form2557/tqf.pdf

ศุภชัย ยาวะประภาษ. กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน : โอกาสและความท้าทาย. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2558; ปีที่ 2 ฉบับที่ 2: 12-13.

ASEAN University Network (AUN). Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version No. 3.0 [Internet]. [2019 Feb 10]. Availablefrom:http://www.aunsec.org/pdf/Guide%20to%20AUNQA%20Assessment%20at%20Programme%20Level%20Version%203_2015.pdf

กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรใหม่/ปรับปรุงหลักสูตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 [อินทราเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก https://op.mahidol.ac.th/ea/curriculum_management/#1514365676348-7cd13bc8-1908

นิตยา ปินตาวงค์. ความพร้อมของนักศึกษาที่มีผลต่อแนวคิดประชาคมอาเซียนของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง [วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

ชิดชนก ทองไทย. การรับรู้ และทัศนคติที่มีผลต่อความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมอาเซียน ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [สารนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2556

วิเชียร เกตุสิงห์. คู่มือการวิจัย:การวิจัยเชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล; 2543.

นฤมล สุมรรคา. ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษา สถานประกอบการจังหวัดสระบุรี [การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554.

เชาวรีย์ อรรถลังรอง. การดำเนินการตามกรอบ TQF [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม

. เข้าถึงได้จาก http://www.sc.su.ac.th/knowledge/tqf.pdf

จิรณี ตันติรัตนวงศ์. TQF กับการเป็นอาจารย์มืออาชีพ.วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 2558;1:51-65.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-17