การศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พรพิมล แก้วฟุ้งรังษี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

อีเลิร์นนิง, ทฤษฎีรวมการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี, การยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้ทฤษฎีรวมของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (UTAUT) จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควตานักศึกษา จำนวน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และใช้วิธีของครอนบาคคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาสำหรับวิเคราะห์คุณภาพความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ก่อนการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับนัยสำคัญ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์  ปัจจัยด้านความบันเทิงในการใช้งาน ปัจจัยด้านการเอาใจใส่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางเทคนิค และปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม สำหรับปัจจัยด้านแรงจูงใจนั้น
ไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้นักศึกษาเข้าใช้งานระบบ
อีเลิร์นนิง นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษาที่มีค่านัยสำคัญ
ทางสถิติ 0.01 คือ ระดับชั้นปี

References

สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่คงสภาพการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระหว่างปีการศึกษา 2557 – 2561 [อินเตอร์เน็ต] . [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จากhttp://www.stat.cmru.ac.th

จิตราภา กุณฑลบุตร. การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่. กรุงเทพ: บริษัทสหธรรมิก จำกัด; 2550.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. กรุงเทพ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 2556.

วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีราชา. วิธีการดำเนินโครงการ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://bit.ly/34TLOOY

อุษณีย์ ดวงพรม. การตั้งสมมติฐานในการวิจัย.วารสารการวัดผลการศึกษา 2554; 17(2).

สุทิน ชนะบุญ. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/34TEAdD

นภาภรณ์ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ. การศึกษาการยอมรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงของอาจาร์ และนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน [การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] . กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

วรวัช วาสนปรีชา. การยอมรับระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการหากฎความสัมพันธ์ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2558

สิงหะ ฉวีสุข, และ สุนันทา วงศ์จตุรภัทร. ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. KMITL Information Technology Journal 2012.

ธีระ กุลสวัสดิ์. การยอมรับอีเลิร์นนิ่งของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพา. Veridian E-Journal 2557; 7(1).

มะลิวรรณ จันแดง.ปัจจัยที่นำไปสู่การยอมรับเทคโนโลยีการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาการใช้ระบบการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ในบริษัท สยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด [การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554

กฤษตฌา พรหมรักษา, วิชญวัชญ์ เชาวนีรนาท และ สุภาพ กัญญาคำ. แนวทางส่งเสริมการยอมรับกูเกิลแอปส์เพื่อการเรียนการสอน กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา 2561; 15(69).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28