การพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทย อายุแรกเกิด- 48 เดือน

ผู้แต่ง

  • ประพา หมายสุข สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ฒามรา สุมาลย์โรจน์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธนยศ สุมาลย์โรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบคัดกรอง, พัฒนาการอารมณ์สังคม, เด็กไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-Sectional Descriptive Studies) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทยอายุแรกเกิด - 48 เดือน และตรวจสอบคุณสมบัติในการวัด โดยพัฒนาตามกรอบแนวคิดของพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม (Functional Emotional Development) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาข้อคำถามและการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น ข้อคำถามที่ร่างขึ้นผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่าค่า IOC ส่วนใหญ่มีค่า ³ 0.5 แล้วตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายใน พบว่าในช่วงอายุ 6-9 เดือน มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำการปรับข้อคำถามเพิ่มเติม ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติในการวัดของแบบคัดกรองฯ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของเด็กปกติจำนวน 223 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในมีค่า Cronbach’s alpha อยู่ระหว่าง 0.604-0.904  และความสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อคำถามกับคะแนนรวม (CITC) ส่วนใหญ่มีค่ามากกว่า 0.2 ขึ้นไป และความเที่ยงตรงเชิงจำแนกระหว่างคะแนนที่ได้จากกลุ่มเด็กพัฒนาการปกติกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคม จำนวน 28 คน พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (Z = -4.483, p-value < .001) และค่าคะแนนเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) จากแบบวัดแบ่งตามช่วงอายุ  0-5, 6-9, 10-18, 19-30 และ 31-48 เดือน มีค่าเท่ากับ  20.11(3.09), 48.96(5.96), 84.88(9.90), 103.32(16.61) และ 139.81(18.28) ตามลำดับ ผลสรุป แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติในการวัดที่เหมาะสม มีความเชื่อมั่นดี สามารถใช้ในการแยกแยะเด็กที่มีพัฒนาการปกติและเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคมได้ โดยผู้ใช้ควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการอารมณ์สังคมร่วมด้วย    

References

Robert V kail. Children and their Development. 7th ed. United Kingdom: Harlow; 2016.

Robert S. Feldman. Essentials of Understanding Psychology. 7th ed. New York : McGraw-Hill Higher Education; 2005.

Bayley N. Bayley scales of infant and toddler development. 3rded.San Antonio: TX Harcourt; 2006.

Greenspan S, Wieder S. The Child with Special Needs: Encouraging Intellectual and Emotional Growth.United States of America: DA Capo Press; 1998.

แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ และอินทร์สุดา แก้วกาญจน์. กระบวนทัศน์ใหม่การดูแลรักษาเด็กออทิสติกสำหรับกุมารแพทย์.วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2560;56:6-15.

Christensen DL, Baio J, Braun KV, et al. Prevalence and characteristics of autism spectrum disorder among children aged 8 Years-Autism and Developmental Disabilities Monitoring Network, 11 sites, United States,

MMWR Surveillance Summaries2018; 67:1-23.

Srisinghasongkram P, Pruksananonda C, Chonchaiya W. Two-Step Screening of the Modified Checklist for Autism in Toddlers in Thai Children with Language Delay and Typically Developing Children. Journal of Autism and Developmental Disorders 2016; 46: 3317-3329.

Greenspan SI. Greenspan Social - Emotional Growth Chart: A screening questionnaire for infants and young children. San Antonio: PsychCorp; 2004.

Briggs, RD., Stettler, EM., Silver, EJ., Schrag, R. D. A., Nayak, M., Chinitz, S., &

Racine, A. D. Social-emotional screening for infants and toddlers in primary care. 2012. Pediatrics 2012; 129:e377–e384.

อดิศร์สุดา เฟื่องฟู. การเฝ้าระวังและติดตามและคัดกรองพัฒนาการเด็กและพฤติกรรมเด็กเล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด; 2561. หน้า 147-175.

สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. คู่มือการวัดทางจิตวิทยา.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: เมดิคัล มีเดีย; 2556.

Frederick J Gravetter, Larry B. Wallnau.Essen-

tials of Statistics for the Behavioral Sciences, 7thed. Wadsworth: Paperback; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-28