ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
คำสำคัญ:
การแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
ปัจจุบันการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นและหรือหยุดหายใจเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่ได้และไม่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) จำนวน 30 คนและกลุ่มที่ไม่ได้รับ จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากจนครบจำนวน คัดเลือกให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มมีคุณสมบัติพื้นฐานใกล้เคียงกัน โปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ ประกอบด้วย 1) การชมวีดีทัศน์การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 2) การรับฟังบรรยายและสาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 3) การฝึกปฏิบัติการแจ้งเหตุ 1669 และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และ4) การทดสอบการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลประสิทธิผลการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานด้วยแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม โดยการเปรียบเทียบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 มีอายุเฉลี่ย 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 93 มีประสบการณ์เรียนทฤษฎีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ภายหลังเข้าโปรแกรมฯความรู้และทัศนคติเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001, .001 ในกลุ่ม T-CPR และ < .001 , .025 ในกลุ่ม CPR และกลุ่มที่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (CPR) ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001, .016 และ < .001 ดังนั้นโรงเรียนทั่วประเทศควรนำไปประยุกต์สอนกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแก่นักเรียนเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
References
2. SCA Foundation. AHA Releases 2015 Heart and Stroke Statistics [Internet] 2014.[cited 2018January3].Available from : https://www.sca-aware.org/sca-news/aha-releases-2015-heart-and-stroke-statistics.
3. Holmberg M1, Holmberg S, Herlitz J. The problem of out-of-hospital cardiac-arrest prevalence of sudden death in Europe today. Am J Cardiol [Internet].1998 [cited 2018 January1];83(5B):88D-90D.Available from:
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10089847.
4. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ.รายงานประจำปี 2558 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรม ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกรม.กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.
5. Pascal Meier, Paul Baker, Daniel Jost, et al. Chest compressions before defibrillation for out of- hospital cardiac arrest: A meta-analysis of randomized controlled clinical trials.BMC Med [Internet]. 2010 [cited 2018 January 1] ; 8: 52.Availablefrom:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2942789/.
6. Bentley J. Bobrow. Telephone cardiopulmonary resuscitation is independently associated with improved survival and improved functional outcome after out-of-hospital cardiac arrest. Resuscitation [Internet]. 2017 [cited 2018 January 11]; 122:135-140. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28754526.
7. ไฮไลท์ของแนวทางการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) และการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจหลอดเลือด หัวใจในภาวะฉุกเฉิน(ECC) ของAmerican Heart Association (AHA) ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558.[Internet]. 2015 [cited 2018 January12]. Available from:https://eccguidelines.heart.org/wp-content/uploads/2015/10/2015-AHA-Guidelines-Highlights-Thai.pdf.
8. Bang A1, Herlitz J, Martinell S. Interaction between emergency medical dispatcher and caller in suspected out-of-hospital cardiac
arrest calls with focus on agonal breathing. A review of 100 tape recordings of true cardiac
arrest cases. Resuscitation [Internet]. 2003 [cited 2018 January12] ; 56(1) : 25-34. Availablefrom:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12505735.
9. Amnuay pattanapon K, Udomsub payakul U.Evaluation of related factors and outcomein cardiac arrest resuscitation at Thammasat Emergency Department. J Med Assoc Thai 2010; 93 (Suppl.7):S26-34.
10. Suraseranivongse S,Chawaruechai T,Saengsung P, et al. Outcome of cardiopulmonaryresus
citation in 2300-bed hospital in a developing country. Resuscitation 2006; 71:188-93.
11. Jintapakorn W, Tanapitak J,Intaraksa P. Result of cardiopulmonary resuscitation (CPR) at Songklanagarind Hospital. Songkla Med J2005; 23 (Suppl.2): 223-7.
12. Yeeheng U.Factors associated with successful resuscitation of out-of-hospital cardiac arrest at Rajvithi Hospital’s Narenthorn Emergency Medical Service Center,Thailand.Asia Pac J Public Health 2011;23: 601-7.
13. มธุรส บูรณศักดา, กัญญา วังศรี, กมลวรรณ เอี้ยงฮง, แพรว โคตรุฉิน, วัชระ รัตนสีหา. อัตราการรอดชีวิตในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเมื่อมีและไม่มีแพทย์ ร่วมออกเหตุ โครงการจัดตั้งภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(2): 105-10.
14. Marcus Eng Hock Ong .A before–after interventional trial of dispatcher-assisted cardio-pulmonary resuscitation for out-of-hospital cardiac arrests in Singapore. Resuscitation [Internet]. 2016 [cited 2018 January 1May]; 102:85-93. Available from:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26944042.
15. John Sutter, Micah Panczyk, Daniel W. Spaite, et al. Telephone CPR Instructions inEmergency Dispatch Systems: Qualitative Survey of 911 Call Centers. West J Emerg Med [Internet]. 2015[cited 2018 January 11] ; 16(5): 736-742.Availablefrom:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4644043/.
16. Linda Culley, Mickey S. Eisenberg. Dispatch-assisted CPR instructions: Time to measure and Improve. [Internet]. 2016[cited 2018 January 11].Availablefrom:https://www.resuscitationjournal.com/article/S0300-9572(16)00090-3/fulltext.
17. Castrén M1, Bohm K, Kvam AM, et al. Reporting of data from out-of-hospital cardiac arrest has to involve emergency medical dispatching taking the recommendations on reporting OHCA the Utstein style a step further. Resuscitation [Internet].2011 [cited 2018 January 2] ; 82(12):1496-500. Available from ttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/
pubmed/21907688.
18. Shimamoto, Iwami ,Kitamura, et al.Dispatcher instruction of chest compression-only CPR increases actual provision of bystander CPR. Resuscitation [Internet].2015 [cited 2018 January11];96:9-15. Available from:https://
www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26206594.
19. รายงานสถิติการแพทย์ฉุกเฉิน.[Internet] 2016.[cited 2018 January 3]. Available from: https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/report003.aspx.
20. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.เกณฑ์การคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ.กำหนด พ.ศ.2556 (Emergency Medical Protocol and Criteria Based Dispatch).พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ :สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.
21. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งแพทย์และการอำนวยการ (Emergency Medical Protocol Under Medical Direction). กรุงเทพฯ:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.
22. สิริมา ใจปล้ำ. บรรณาธิการ.คู่มือการจัดการและปฏิบัติงานในระบบรับแจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบการแพทย์ฉุกเฉินพ.ศ.2551.กรุงเทพฯ:บริษัทบียอนด์ พับลิสชิ่งจำกัด; 2556.
23. วราพรรณ เพ็งแจ่ม.ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตที่ 31 จังหวัดนครราชสีมา.สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารี 2560; ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม -ธันวาคม 2560: 63-72.
24. เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง และ ชจัคเณค์ แพรขาว.ผลของโปรแกรมสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ภาวะหัวใจหยุดเต้นต่อความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ Effect of Basic First Aid to Sudden Cardiac Arrest Program on Knowledge and Skill of High-school Students in Provincial Secondary School the Northeastern.เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2560 วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ อาคาร พจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเตอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561]; 2017: 763-774. เข้าถึงได้จาก : https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/MMO16.
25. นันทวรรณ ทิพยเนตร และคณะ. การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขนักเรียนมัธยม (อสนม.)ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในกลุ่มนักเรียน มัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม.การประชุมวิชาการระดับชาติ ฉลองครบรอบทศวรรษสำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำปี 2559. เชียงราย:สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 2559:30-8.
26. สุพรรณี ธรากุล, เฉลิมศรี นันทวรรณ, สุพิชญา หวังปิติ. การประเมินผลการกู้ชีพในชุมชน วารสารวิชาการสารสุข 2552;18(4):597- 605.
27. สุภามาศ ผาติประจักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตขั้นพื้นฐาน และความสามารถในการกดหน้าอกในนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรี. Songklanagarind Journal of Nursing 2558; 35(1):119-134.
28. Simon- Richard Finke. Gender aspects in cardiopulmonary resuscitation by school
children: A systematic review. Resuscitation [Internet].2018[cited 2018 January 3]; 125:70-78. Available from : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0300957218300261.
29. Connolly M, Toner P, Connolly D,Mc Cluskey .The 'ABC for life' programme - teaching basic life support in schools. Resuscitation [Internet]. 2007 [cited 2018 January 2]; 72(2):270-9. Available from: https://www.
ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17134814.
30. Eisenburger P1, Safar P. Life supporting first aid training of the public-review and recom-
mendations.Resuscitation Internet].1999 [cited 2018 January 1]; 41(1):3-18.Availablefrom
:https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10459587.
31. ลดาวรรณ อุบล และคณะ.การสอนช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยวีดีทัศน์สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น. J Nurse Sci [อินเตอร์เน็ต].2560[เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561];34(3):66-78.เข้าถึงได้จาก:https://
www.ns.mahidol.ac.th/english/journal_NS/pdf/vol34/issue3/Reserch%20Paper%205.pdf
32. ทฤษฎีแนวคิดบลูม.[อินเตอร์เน็ต] .2553 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561].เข้าถึงได้จาก : https://pornpen-n.blogspot.com/2010/11/
blog-post.html.
33. Vetter VL1, Haley DM. Secondary prevention of sudden cardiac death: does it work in children?.Send to Curr Opin Cardiol [Internet]. 2014 [cited 2018 January 13]; 29(1):68-75. Available from : https://www.
ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24284981.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล