การพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
คำสำคัญ:
อาสาฉุกเฉินชุมชน, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, การบริการการแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้วงจรต่อเนื่องกัน 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (Plan : P) จัดประชุมร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ค้นหาปัญหาและแก้ไขในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งพบปัญหา การบริการล่าช้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขาดทักษะและความมั่นใจในการช่วยเหลือผู้ป่วย (2) การปฏิบัติ (Act : A) จัดทำแผนที่ถนนและแนวทางการแจ้งเหตุไปใช้จริง และพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนให้กลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (3) การสังเกตผล (Observe : O) นำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการมาวิเคราะห์และ (4) การสะท้อนผล (Reflect : R) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน 20 คน จากหน่วยปฐมภูมิ จำนวน 10 คน และกลุ่มกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 50 คน นักศึกษา จำนวน 20 คน รวมจำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า หลังการพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้สูงขึ้น แต่คะแนนทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีการอบรมฟื้นฟูทุกปี ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พบว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.59, S.D.=0.45) ส่วนกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน เห็นด้วยระดับมาก ( =4.03, S.D.=0.53) โดยหลังจากจัดรูปแบบผ่านไป 4 เดือน พบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้เพิ่มขึ้น มีการแจ้งขอความช่วยเหลือทางวิทยุสื่อสาร ร้อยละ 100, เข้าถึงจุดเกิดเหตุรวดเร็วภายใน 5 นาที ร้อยละ 100 ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นที่จำเป็น เช่น การจัดท่าเปิดทางเดินหายใจ การห้ามเลือด และการดามปฏิบัติได้ ร้อยละ100 ผลการพัฒนาทำให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยร่วมปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งนำไปสู่พัฒนางานด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน
References
kku.ac.th/?page_id=43
2. กัญญา วังศรี. คุณภาพการบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ภายในมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น. ขอนแก่น: หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แผนกการพยาบาลอบุติเหตุและฉุกเฉิน งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์; 2558 : 24-25.
3. อนุชา เศรษฐเสถียร. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560].เข้าถึงได้จาก https://www.
thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=203&auto_id=8&TopicPk/
4. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มืออาสาฉุกเฉินชุมชน. [อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.
niems.go.th/th/Upload/File/255608011613371971_jbvgecEoaqYSlvaX.pdf/
5. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. นโยบายการขับเคลื่อนการแพทย์ฉุกเฉิน. สารเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน ปีที 2 : ฉบับที่ 04 .(เมษายน- มิถุนายน 2559). [เข้าถึงเมื่อ 2560 กรกฎาคม 7];ปีที่2:[หน้า 3].เข้าถึงได้จาก: https://www.
niems.go.th/th/Upload/File/255905161140318035_Lny3m7JvXztKl19r.pdf/
6. กฤษฏ์ โพธิ์ศรี. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครกู้ชีพในการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2554; 42: 59-69.
7. สราวัลยภ์ วรธรากุล. ผลการพัฒนาศักยภาพอาสาฉุกเฉินการแพทย์ด้วยการฝึกจากสถานการณ์จำลองของอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปี 2555. วารสารสาธารณสุขขอนแก่น. 2556; 297:29-33.
8. งานเวชกรรมฉุกเฉิน กองการพยาบาล โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา. อาสาฉุกเฉินในกำลังพลทหาร.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://km.fsh.mi.th/wp-content/uploads/
2015/11/r003.pdf/

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล