การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่บนภูเขา

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ ยุทโท โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้, การแพทย์ฉุกเฉิน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, รูปแบบการสอน (ชุดการเรียนรู้/สื่อประสม), พื้นที่บนภูเขา

บทคัดย่อ

การรู้จักการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้นของเด็กและเยาวชน จะส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินมากขึ้น การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประสมการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยไร่สามัคคี จำนวน 30 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 – สิงหาคม 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงพรรณา และเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้วยสถิติ T- Test และการวิเคราะห์เนื้อหา  การหาค่าประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ โดยใช้สูตร E1/E2    การหาค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดการเรียนรู้ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาสื่อประสมการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยเนื้อหาด้าน 1) ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน  2) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น  3) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และ 4) EMS Rally ปรากฎอยู่ในเว็บไซด์ www.ems-school9.com นำสื่อประสมไปจัดการเรียนรู้ 20 ชั่วโมงทั้งในห้องเรียน ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์ และการปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม EMS rally การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ในทุกประเด็น โดนเฉพาะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คะแนนหลังเรียน (µ = 8.73)  คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.67 สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน (µ  = 5.67) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.08  เพิ่มขึ้นเท่ากับ 35.59 ทุกกลุ่มมีคะแนนจากการทดสอบในกิจกรรม  EMS Rally  5 ฐานในระดับมาก จากการสอบถามความคิดเห็นนักเรียน พบว่า นักเรียนพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด สิ่งสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานด้านการศึกษา การแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ศึกษานิเทศก์ องค์การบริหารส่วนตำบล กู้ชีพมูลนิธิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดังนั้นหน่วยงานเหล่านี้ควรร่วมผลักดันให้เกิดการต่อยอดและขยายผลต่อไป

References

1. ทนงสรรค์ เทียนถาวร. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการ และตัวชี้วัดในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วิทยา ชาติบัญชาชัย, บรรณาธิการ: ขอนแก่นการพิมพ์; 2551.
2. กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, ณัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลเอการ ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในประเทศไทย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559
3. จารุวรรณ ธาดาเดช,สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล. วิวัฒนาการระบบบริการการ
แพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2014;23(3):513-522.
4. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง.แผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. เชียงราย; 2560
5. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือการจัดการสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 . กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ; 2545.
6. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.กระทรวง
ศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ; 2546.
7. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2550.
8. สุรศักดิ์ ปาเฮ. การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ประชุมวิชาการการพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง ;วันที่ 28-29 ธันวาคม 2553 ; ณ โรงแรมนครแพร่ทาวเวอร์ จังหวัดแพร่. แพร่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2.
9. สยาม ศรีมหาไชย.การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่องชีวิตพืชและสัตว์ ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อประสมกับการสอนปกติ; 2548 [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต], มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2548.
10. กรรณิการ์ เพ่งพิศ. การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อประสม [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต], เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.
11. อภิเดช ไชยวรรณ.การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วันสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต].ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
12. Keeves, J.P. Education research, methodology, and measurement: An International. handbook. Oxford: Pergamon Press; 1997.
13. Herzberg,Frederick. The Motivation to Work. New York: Wiley;1959.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-04