การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • กนกพร ดอนเจดีย์ นักวิชาการเวชสถิติ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สาลินี จันทร์เจริญ เจ้าหน้าที่วิจัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พรรณนิภา หริมเทพาธิป ผู้ช่วยวิจัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

Programs, Evaluation Form, Satisfaction

บทคัดย่อ

การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ ของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบรัว มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานภายในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จำนวน 15 คน ซึ่งโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ เป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง โดยโปรแกรมดังกล่าวจะประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
2) กิจกรรมแบบประเมิน สร้างได้ไม่ยาก และ 3) กิจกรรมการวิเคราะห์และแปลผลแบบประเมินความพึงพอใจด้วยการใช้โปรแกรมทางสถิติ ใช้เวลาในการดำเนินโปรแกรมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรมฝึกอบรม  และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ The wilcoxon matched pairs signed-ranks test ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจก่อนและหลัง  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)

References

เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ . วิธีทางการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2535

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมิน : ศาสตร์แห่งคุณค่า. ครั้งที่พิมพ์ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553

Anunt S. Measurement in Education.

Bangkok : Thaiwatanapanit, 1982.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :พิมพ์ดี จำกัด; 2547

ขนิษฐา จิตอรุณ. เทคนิคการฝึกอบรมและประชุม. กรุงเทพฯ: มณฑลการพิมพ์, 2540

งานบริหารบุคคล. เอกสารส่วนงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559].เข้าถึงได้จาก http10.31.1.120/ intranet/index.php?option=com_phocadownload&view=sections&Itemid=27

Tyler Raph W. Basic Principles of Curriculumand Instruction. Chicago: University of Chicago Press, 1964.

Kuder GF, Richardson MW. (1937). The theory of estimation of test reliability. Psychometrika 1937; 2: 151-160.

สมใจ ปราบพล. การจัดกระบวนการ

เรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี; 2544

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. สุดยอดพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ทบุคส์; 2545

Thomas S. What is Participatory Learning and Action (PLA): An introduction. [Internet] .2015. [Cited 2017 Mar 15]. Available from: http://idp-key-resources.org/documents/0000

/d04267/000.pdf

Nicol DJ. Macfarlane-Dick D. Formative assessment and self-regulated learning: amodel and seven principles of good feedback practice. Studies in Higher Education 2006;

(2): 199-218.

แสงดาว ถิ่นหารวงษ์. การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม: จากทฤษฏีสู่การปฏิบัติในรายวิชาวรรณคดีสำหรับเด็ก. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ 2558; 17(1): 1-11

ไพโรจน์ สถิรยากร. การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานปฏิบัติในหน่วยงาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2547

กรอบแนวคิดในการศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-23