ผลการศึกษาเบื้องต้นของผลกระทบในการเปลี่ยนกรงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ต่อสุขภาพพ่อแม่พันธุ์หนูตะเภา กรณีศึกษาศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
คำสำคัญ:
หนูตะเภา, Mlac:DH, การเปลี่ยนกรง, ค่าโลหิตวิทยา, ค่าเคมีคลินิก, ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากความถี่ในการเปลี่ยนกรงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (กลุ่มทดสอบ) เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนกรงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (กลุ่มควบคุม) ต่อสุขภาพของพ่อแม่พันธุ์หนูตะเภา Mlac:DH และจำนวนลูกสัตว์หย่านมที่ผลิตได้ตลอดระยะเวลาการผลิต 15 เดือน จำนวนลูกสัตว์หย่านมตลอดระยะเวลาการผลิต รอยโรคที่มองเห็นด้วยตาเปล่าจากการผ่าซาก ภาพรวมทางจุลพยาธิวิทยา ค่าเลือดและค่าเคมีคลินิกตามระยะเวลาการเลี้ยงที่ 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน และ 15 เดือนถูกบันทึก ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านจำนวนลูกสัตว์ตายก่อนหย่านมและจำนวนลูกสัตว์หย่านมที่ผลิตได้ตลอดระยะเวลาการผลิต (P-value มีค่า 0.683 และ 0.929) การผ่าซากและรอยโรคหรือความผิดปกติที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า พบรอยโรคฝ่าเท้าอักเสบในระดับเล็กน้อยที่ฝ่าเท้าหลังทุกตัวทั้งในกลุ่มทดสอบและกลุ่มควบคุมที่ระยะเวลาการเลี้ยง 9 เดือนขึ้นไป พบถุงน้ำที่รังไข่ทั้งในกลุ่มทดสอบและกลุ่มควบคุมที่ระยะเวลาการเลี้ยงตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ภาพรวมผลทางจุลพยาธิวิทยา พบปอดอักเสบแบบไพโอแกรนูโลม่าเล็กน้อยในกลุ่มทดสอบ จำนวน 1 ตัว ที่ระยะเวลาการเลี้ยง 6 เดือน และ 2 ตัวที่ระยะเวลาการเลี้ยง 9 เดือน พบการอักเสบและเนื้อตายเล็กน้อยที่ตับในกลุ่มควบคุม จำนวน 1 ตัว ที่ระยะเวลาการเลี้ยง 6 เดือน ซึ่งความผิดปกติที่ปอดและตับนี้สันนิษฐานว่าเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะรายตัว ส่วนค่าเลือดและค่าเคมีคลินิกของกลุ่มทดสอบและกลุ่มควบคุมในทุกระยะเวลาการเลี้ยงมีค่าสอดคล้องกับผลที่เคยมีการรายงานไว้ในต่างประเทศ และในแต่ละพารามิเตอร์กลุ่มทดสอบและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น การศึกษาต่อไปในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลจากการทดสอบกับทั้งโคโลนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของค่าเลือดและค่าเคมีคลินิก ซึ่งมีปัจจัยเรื่องเพศและอายุสัตว์เกี่ยวข้อง
References
Nation Research Council. Guide for the Care and Use of Laboratory Animals. 8th ed. Washington DC, USA: The National Academic Press; 2011.
Burn CC, Peters A, Day MJ, Mason GJ. Long-term effects of cage-cleaning frequency and bedding type on laboratory rat health, welfare, and handleability: A cross-laboratory study. Laboratory Animals 2006;40(4):353-70.
Rosenbaum MD, VandeWoude S, Johnson TE. Effects of cage-change frequency and bedding volume on mice and their microenvironment. Journal of the American Association for Laboratory Animal Science 2009;48(6):763-73.
IBM Corp. IBM SPSS Statistics for Windows, Version 27.0. Armonk, NY: IBM Corp; 2020.
Sanderson AE, Multari HM, Lohmiller JJ, Boutin SR. Effect of cage-change frequency on rodent breeding performance. Lab Animal 2010;39(6): 177-82.
Brown C, Donnelly TM. Treatment of pododermatitis in the guinea pig. Lab Animal 2008;37(4):156-7.
Keller LS, Griffith JW, Lang CM. Reproductive failure associated with cystic rete ovarii in guinea pigs. Veterinary Pathology 1987;24(4):335-9.
Stephen MG, Dean HP. Guinea pig. In: Stephen WB, editor. Pathology of Laboratory Rodents and Rabbits, 4th edition: John Wiley and Sons; 2016. p. 213-52.
Popoiu S, Teodoru A-M, Levandovschi N, Coman C. Hematological and biochemical dynamics of rabbits and guinea pigs used for scientific purposes at Cantacuzino institute, Bucharest. The Romanian Review of Veterinary Medicine 2021;31(2):69-80.
Spittler AP, Afzali MF, Bork SB, Burton LH, Radakovich LB, Seebart CA, Moore AR, Santangelo KS. Age-and sex-associated difference in hematology and biochemistry parameters of Dunkin Hartley guinea pigs (Cavia porcellus). PLoS One 2021;16(7):e0253794.
Fitria L, Lestari S, Istiqomah AN, Wulandari NP, Wardani AS, Hematology profile of guinea pigs [Cavia porcellus (Linnaeus, 1758)] based on sex and age. Proceedings of the 7th International Conference on Biological Science (ICBS 2021); 2021 Oct 14-15; Yogyakarta: Indonesia; 2021.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล