การกำหนดกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นฤมล น่วมอนงค์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จริยธรรมการวิจัยในคน, คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน, กลยุทธ์, การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้อย่างยั่งยืน โดยการศึกษาครั้งนี้อาศัยทั้งข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและข้อมูลปฐมภูมิจากการระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการฯ ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการสำนักงาน และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ผลการศึกษาพบว่าสามารถกำหนดกลยุทธ์ เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ได้ดังนี้ กลยุทธ์ระยะสั้น 1) พัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ 2) จัดการฝึกอบรมและสื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมการวิจัยในคนอย่างสม่ำเสมอ 3) ปรับปรุง SOPs อย่างสม่ำเสมอ 4) สร้างเครือข่ายและทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านจริยธรรมการวิจัยในคน 5) จัดทำแผนงบประมาณและแผนอัตรากำลังล่วงหน้าให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ กลยุทธ์ระยะยาว 6) ปรับโครงสร้างองค์กรให้มีความชัดเจน 7) กำหนดให้ภาระงานของคณะกรรมการฯ สามารถใช้ในการคำนวณภาระงานได้ในลักษณะ Double Appointment

References

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/265/43.PDF

ลิวา ผาดไธสง, อัจฉรา วัฒนภิญโญ, นฤมล น่วมอนงค์, และณัฐินี สัสดี. แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระยะที่ 1). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

ลิวา ผาดไธสง, อัจฉรา วัฒนภิญโญ, นฤมล น่วมอนงค์, และณัฐินี สัสดี. แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระยะที่ 2). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

ลิวา ผาดไธสง, อัจฉรา วัฒนภิญโญ, นฤมล น่วมอนงค์, และณัฐินี สัสดี. แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ระยะที่ 3). เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประกาศมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2559.

แววนภา กลีบจำปี. SWOT Analysis. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pubhtml5.com/ohyk/wmol/basic.

วรรณวิษา วรฤทธินภา. การศึกษาปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร กรณีศึกษา บริษัท This Work จำกัด [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2555.

วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์, และกนกกรรณ์ ลี้โรจนาประภา. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและเมททริกซ์ทาวซ์เพื่อพัฒนายุทธวิธีการเพิ่มศักยภาพโซ่อุปทานผ้าไหมไทย-ลาว. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2561;2:5-26.

อโรทัย ทิพเนตร, กนกพร ภาคีฉาย, และ กนกกาญจน์ กล่อมเกลา. การวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจที่พักแบบโฮมสเตย์เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://research.rmutsb.ac.th/fullpaper/2558/2558240240376.pdf

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. แผนกลยุทธ์ สกสว. พ.ศ. 2564-2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2564.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. วางกลยุทธ์ธุรกิจให้ถูกจุดกับ TOWS Matrix. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.popticles.com/business/tows-matrix/

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/004/T_0022.PDF

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-08