ความเข้มแข็งของสวัสดิการชุมชนบนอัตลักษณ์ความเป็นจีนกรณีศึกษาชุมชนโบ๊เบ๊
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเข้มแข็งของสวัสดิการชุมชนบนอัตลักษณ์ความเป็นจีนของชุมชนโบ๊เบ๊ อันมีความสัมพันธ์หรือส่งผลกระทบต่อชุมชนโบ๊เบ๊ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านแนวคิดเช่นแนวคิดทุนทางสังคม แนวคิดสวัสดิการชุมชน แนวคิดการกลืนกลาย ซึ่งกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาคือพื้นที่ชุมชนโบ๊เบ๊ตลาดเก่า ตรอกธรรมา ผลการวิจัยพบว่า ชาวจีนภายในชุมชนโบ๊เบ๊ได้อาศัยอัตลักษณ์ 3 อัตลักษณ์ ได้แก่อัตลักษณ์ความเป็นจีน ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่เหมือนกันของชาวจีนทั้งชาติได้แก่ รูปแบบวันสำคัญอย่างวันตรุษจีน สารทจีน เป็นต้น ประเพณีสำคัญเช่นงานแต่งงาน งานศพ (กงเต๊ก) เป็นต้น หรืออัตลักษณ์ของชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งชาวจีนภายในชุมชนโบ๊เบ๊เกือบทั้งหมด ล้วนเป็นผู้ที่อพยพมาจากพื้นที่บริเวณซัวเถาหรือบริเวณใกล้เคียง ล้วนพูดภาษาแต้จิ๋วทั้งสิ้น ฉะนั้นชาวจีนภายในโบ๊เบ๊จึงล้วนพูดภาษาแต้จิ๋วทั้งสิ้น โดยอัตลักษณ์สำคัญของชาวจีนแต้จิ๋วเช่น รักการค้าขาย การเคารพศาลเจ้าปึงเถ่ากง เป็นต้น ส่วนอัตลักษณ์การผสมกลมกลืนระหว่างไทยและจีน เนื่องจากชาวจีนโบ๊เบ๊ส่วนใหญ่พอก้าวเข้ามาอาศัยยังไทยเป็นเวลานาน ผนวกกับการที่ชุมชนโบ๊เบ๊เป็นพื้นที่เช่าของวัดบรมนิวาส ด้วยความกตัญญูของชาวจีนโบ๊เบ๊ต่อประเทศไทยและวัดบรมนิวาส จึงได้บูรณาการอัตลักษณ์ของชาวไทยและชาวจีนเข้าระหว่างกัน กลายเป็นอัตลักษณ์ไทยและจีนในที่สุด นอกจากนี้ชาวจีนโบ๊เบ๊ได้อาศัยอัตลักษณ์ความเป็นจีนเช่นการรวมกลุ่ม เครือข่ายหรือระบบศาลเจ้า เป็นต้น สร้างระบบสวัสดิการชุมชนผ่านระบบศาลเจ้าและสมาคม จนเกิดรูปแบบสวัสดิการชุมชนที่ต้องสมทบและไม่ต้องสมทบขึ้นในที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2555, มกราคม-มีนาคม). ผลการศึกษาสถานการณ์และดัชนีการค้าย่านโบ๊เบ๊และประตูน้ำ. (2555, มีนาคม). วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 1. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2555, จาก http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocument.pdf
ถาวร สิกขโกศล. (2554). แต้จิ๋ว: จีนกลุ่มน้อยที่ยิ่งใหญ่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ทวี ธีระวงศ์เสรี. (2516). สถานภาพทางกฎหมายของชาวจีนในประเทศ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญยง ชื่นสุวิมล. (2551). โบ๊เบ๊ความเปลี่ยนแปลงของระบบครอบครัวชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนกับประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2550). วิถีจีน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ประพันธ์สาสน์.
ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2531). บูรณาการแห่งชาติและการดำรงความเป็นจีน: บริบทของประวัติศาสตร์ภาคใต้. ใน รอยร้าวของสังคมไทย? บูรณาการกับปัญหาความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์.
ยุพา วงศ์ไชย,กิติพัฒน์ นนทปัทมดุลย์, และเล็ก สมบัติ. (2528). ระบบสวัสดิการในประเทศไทยข้อเสนอต่อสภาสตรีแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สภาสตรีแห่งชาติ.
ระพีพรรณ คำหอม. (2557). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรมศาสตร์.
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2530). ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมของชุมชนจีน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2550). วิถีจีน – ไทยในสังคมสยาม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
Boonsnong Punyodyan. (1971). Chinese-Thai Differential Assimilation in Bangkok. New York: Cornell University.
Coughlin, R. (1960). Double Identity: The Chinese in Modern Thailand. Hong Kong : Hong Kong Press.
Friedlander, W, A. (1968). Introduction to Social Welfare. New Jersey : Prenlic-Hall.
Landon, Kenneth. (1964). The Chinese in Thailand. Oxford : Oxford University Press.
Skinner, W. G. (1957). Chinese society in Thailand: An analytical history. New York: Cornell University Press.