กลไกการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

เทพรัตน์ พิมลเสถียร

บทคัดย่อ

การวิจัย “เรื่องกลไกการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) 2) เพื่อศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการผลักดัน ปกป้อง และส่งเสริม ผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนภูมิใจและเข้าเกณฑ์ตาม พรบ.สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาหาแนวทาง/ รูปแบบ ในการเสริมสร้างความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในการปกป้องและส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญา ประเภท สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในจังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นประชากรในจังหวัดนครปฐม รวมจำนวนทั้งสิ้น 900,000 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ยามาเน่ (Yamane, 1973) ได้จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า
1. ประชาชนส่วนใหญ่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีความรู้มากที่สุดในประเด็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สามารถเสริมสร้างเอกลักษณ์ที่ดีของจังหวัด
2. บทบาทการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการป้องกันและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พบว่า ภาพรวมประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยน้อยที่สุดในประเด็นท่านมีส่วนร่วมวางแผนในการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อปกป้องและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมความสำเร็จในการป้องกันและส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในระดับจังหวัด มี 5 ประการ ประกอบด้วย 1.ประชาชน 2.ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการตลาด 3.งบประมาณ 4.หน่วยงานภาครัฐ 5.ถูกกำหนดเป็นนโยบายระดับประเทศ
3. แนวทางและรูปแบบในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พบว่าให้สำนักงานจังหวัดควรมีการจัดตั้งหน่วยงานดูแลและส่งเสริมอาชีพและสินค้าของหมู่บ้านหรือกลุ่มแม่บ้านที่ได้มีการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นและภาครัฐรัฐบาลควรมีนโยบาย แนวทาง โครงการ มาตรการในการสนับสนุนเกี่ยวกับการเสริมสร้างความรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

Article Details

How to Cite
พิมลเสถียร เ. . (2015). กลไกการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จังหวัดนครปฐม. Journal of Politics and Governance, 5(2), 34–56. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/279125
บท
Research Articles and Academic Articles

References

กรองแก้ว อยู่สุข. (2537). พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกศแก้ว วิมนมาลา. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์พยาบาลในสถานศึกษาพยาบาล. กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โกวิทย์ พวงงาม. (2548). การปกครองท้องถิ่นไทย.กรุงเทพฯ: วิญญูชน

โกวิทย์ พวงงาม. (2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

จารุพร เพ็งสกุล. (2545). ความคาดหวังของผู้นำชุมชนต่อบทบาทนักพัฒนาในการสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชนพื้นที่การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อเผชิญปัญหาวิกฤตภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จักรรัช ธีระกุล. (2542). สังคมวิทยาเบื้องต้น. นครศรีธรรมราช: สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

เจริญ ภัสระ. (2540). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานของรัฐ. วารสารสมาคมรัฐประศาสนศาสตรแห่งประเทศไทย. 12, 11-14.

เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง. (2537). “การระดมประชาชนเพื่อการพัฒนาชนบท” การบริหารการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

จุฬาภรณ์ โสตะ. (2543). บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชน และองค์การบริหารส่วนตำบลในงานอนามัยสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

เฉลียว บุรีภักดีและคณะ.(2545). การวิจัยชุมชน ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : สํานักมาตรฐานการศึกษา สํานักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ ; สํานักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย

ชัชรี นฤทุม. (2551). การพัฒนาการเกษตรแบบมีส่วนร่วม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชุดา จิตพิทักษ์. (2528). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเนศพริ้นท์ติ้งง เซ็นเตอร์จำกัด.

ณัชรัตน์ ขยัก. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตําบล : ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตําบลปง อําเภอปง จังหวัดพะเยา.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม: แนวคิด ทฤษฎี และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ทรงพล ตุ้มทอง. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี: เทศบาลตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี.ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนีย์ ไทยาภิรมย์. (2526). การพัฒนาชุมชน: วิธีการระดมการมีส่วนร่วมของชุมชน.กรุงเทพฯ: นิตยาสารกรมประชาสงเคราะห์.

นรินทร์ชัย พัฒนาพงศา. (2546). การมีส่วนร่วมหลักพื้นฐานเทคนิคและกรณีตัวอย่าง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์

ประชา แสนกลาง. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น: กรณีศึกษา

องค์การบริหารส่วนตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวทิยาลัยขอนแก่น.

ประชุม สุวัตถี. (2551). การตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการพัฒนาและเทคนิคการทํางานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

พงศ์นคร ยางงาม และ พีรดนย์ หมั่นภักดี. (2546). การส่งเสริมกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน. เข้าถึงได้จาก http://www.2.diw.go.th/ppp/data/pdf/journal1.pdf

พรชัย ตระกูลวรานนท์. (2552). โครงการศึกษาพัฒนา civil society index และ social capital index เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

พัทยา สายหู. (2534). การพัฒนาวัฒนธรรมบนพื้นฐานภูมิปัญญาชาวบ้านและศักยภาพของชุมชน.

การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง ภูมิปัญญาพื้นบ้าน, หน้า 109-118. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

พิสันติ์ ประทานชวโน. (2553). การพัฒนาชุมชน. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการพัฒนาชุมชน. วิทยาลัยการทัพบก. กรุงเทพฯ.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์ การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ภิญโญ สาธร. (2523). หลักการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่3).กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

มงคล จันทร์ส่อง. (2544). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2541). การศึกษาทัศนคติของชุมชนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว กรณีศึกษา:เกาะมุก จังหวัดตรัง. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ลิขิต ธีรเวคิน.(2543).การเมืองการปกครองไทยของไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรางคณา วงศ์มหาชัย. (2535). บทบาทของผู้นำในการพัฒนาองค์กรประชาชน: ศึกษาเฉพาะกรณีการพัฒนาองค์กรประชาชนระหว่างชุมชน ของมูลนิธิพัฒนาอีสาน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2549). การวิเคราะห์ผลกระทบ ผลดีและผลเสีย ต่อประชาชน และระบบการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้ง

วาสนา ยิ่งรุ่งโรจน์. (2547). การมีส่วนร่วมของผู้นําชุมชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตําบลสูงเนิน อําเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

วารินทร์ จันทรัตน์. (2548). ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ในการปกครองส่วนท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2546). การบริหารและการจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมือง.กรุงเทพมหานครฯ :บี เจ เพลทโปรเซสเซอร์

วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ และคณะ. (2551). การมีส่วนร่วมของชุมชนในงานยุติธรรม ชุมชนคลอง จรเข้น้อย ตําบลเกาะไร อําเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. การฝึกอบรมหลักสูตร นักบริหารระดับกลาง รุ่นที่ 7 กระทรวงยุติธรรม พ.ศ.2521: กระทรวงยุติธรรม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2550). กฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.

สามารถ ก้อนจันทร์. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตำบลขามใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี. ภาคนิพนธ์พัฒนาสังคม มหาบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภชัย ตรีทศ. (2547). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนต่อการวางแผนพัฒนาเทศบาลเมืองชลบุรี.ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุริยันต์ สุวรรณราช. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. กรุงเทพฯ.

อคิน รพีพัฒน์. (2525). ความสำคัญของการมีส่วนร่วม.มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาชุมชนเมือง.

อรทัย กักผล. (2546). “บทนํา” และ “การมีส่วนร่วมของประชาชน”. ใน พัชรี สิโรรส และคณะ. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อรพินท์ สพโชคชัย. (2538). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

อาภรณ์ วัชระ. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อการบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ศึกษากรณี: องค์การบริหารส่วนตำบลวังตะเคียน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา.มหาวิทยาลัยบูรพา

Allport, Gordon . (1937). Personality: A psychological interpretation. New York: Holt.

Cohen & Uphoff. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York: Richard D. Irwin Inc

Erwin, William. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta: Georgia State University.

Robert, James and Irving, Paul. (1961). Leadership and organization. New York: McGraw – Hill.