ความปรองดองในสังคมพหุลักษณ์ของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การไม่ยอมรับว่าสังคมไทยเป็นพหุลักษณ์และแรงกดดันจากภาครัฐที่จะให้สังคมไทยทั้งหมดมีความเหมือนกันทำให้การสร้างความปรองดองในสังคมไทยไม่อาจประสบความสำเร็จได้ การศึกษาโดยใช้แนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคม (state-society relations) ซึ่งพิจารณาเงื่อนไขการสร้างอำนาจให้แก่รัฐทั้งในด้านการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้ช่วยอธิบายสภาพโดยรวมของรัฐไทยว่ามีความเป็นพหุลักษณ์ และการใช้อำนาจส่วนกลางครอบงำสังคมจะทำให้เกิดการต่อต้านจากสังคมและไม่อาจจะนำไปสู่ความปรองดองได้ ซึ่งตัวอย่างสำหรับบทความนี้คือการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ที่มีความเข้าใจและคำนึงถึงความหลากหลายในสังคมไทย ดังนั้นการสร้างความปรองดองในสังคมไทยให้เกิดขึ้นได้อีกครั้ง หากรัฐต้องการความปรองดองของคนในชาติก็ควรจะสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วม โดยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและสังคมเป็นแบบพหุนิยม และส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นพลเมืองและใช้สถาบันทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ รวมทั้งการยึดมั่นในหลักการและการแก้ไขปัญหาตามระบอบและแนวทางประชาธิปไตย เพื่อการพัฒนารัฐไทยที่มีความมั่นคงและยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ. (2549). ความรุนแรงและความตายภายใต้นโยบายรัฐ : กรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. โดย http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ ConferenceII/Article/Article12.htm. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2557).
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. (2554). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2555). กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสท์ พับลิชชิง.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2557). ใน ประชาธิป’ไทย: สารคดี โดย เป็นเอกรัตนเรือง และ ภาสกร ประมูลวงศ์. ชานันท์ ยอดหงษ์ เรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : มติชน.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2557).ใน ประชาธิป’ไทย: สารคดี โดย เป็นเอกรัตนเรือง และ ภาสกร ประมูลวงศ์. ชานันท์ ยอดหงษ์ เรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : มติชน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2557). ผ้าขาวม้า,ผ้าซิ่น,กางเกงใน และ ฯลฯ ว่าด้วยประเพณี, ความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2558). นิธิ เอียวศรีวงศ์: สงคราม กองทัพ และการเมือง. มติชน สุดสัปดาห์ 20-26 มีนาคม 2558. โดย http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1427366145. (เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2558).
บวรศักดิ์ อุวรรโณ. พลวัตการเมืองไทย. โดย http://www.kpi.ac.th/kpith/index.php?option=comcontent&task=view&id=95&Itemid=214. (เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2556).
มูลนิธิรัฐบุรุษ.(2549). รัฐบุรุษชื่อเปรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์.(2536). อนิจลักษณะของการเมืองไทย เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่าด้วยการเมือง กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล.(2555). อ้างใน ศุภมิตร ปิติพัฒน์. บทวิพากษ์ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของประกาศร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : คบไฟ.
สุจิต บุญบงการ.(2542). การพัฒนาทางการเมืองของไทย : ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสน่ห์ จามาริก. (2549). การเมืองไทยกับพัฒนาการรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ศุภมิตร ปิติพัฒน์. (2555). บทวิพากษ์ธรรมวิทยาแห่งพลเมืองของประกาศกร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์.(2557). ประชาธิปไตยคนไทยไม่เท่ากัน. กรุงเทพฯ: มติชน.
อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2558).รัฐ สังคม และการเปลี่ยนแปลง การพิจารณาในเชิงอำนาจ นโยบายและเครือข่ายความสัมพันธ์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศยาม.
อุไรวรรณ ธนสถิต. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย.
Almond, G.a. and Verba, S. (1965). The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy in Five Nations. Boston: Little, Brown and company.
Barkey, K. and Parikh, S.(1991) Comparative Perspective on the State. Annual Review of Sociology. Vol.17 (1991). pp. 523-549.
Draper, J.and Streckfuss, D.(2015). Minorities and minority rights in Thailand. New Mandala, 11-05-2015. โดย http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2015/05/11/minorities-and-minority-rights-in-thailand/. (เข้าถึงเมื่อ 14 พฤษภาคม 2558).
Laski, H. (1955). The Sovereignty of the State. in Readings in Recent Political Philosophy. Edited by Magaret Spahr. New York: Macmillan. pp. 529-536.
Migdal, J. (1988). Strong Societies and Weak States. New Jersey : Princeton University Press.