กระบวนการบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจเกี่ยวกับกระบวน การบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักตำรวจแห่งชาติ จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และระดับชั้นยศ โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจ สังกัดศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จานวน 12 จังหวัด จานวน 240 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจ สังกัดศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 จานวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .947 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. ข้าราชการตำรวจมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านการควบคุม รองลงมาคือด้านการวางแผน ด้านการชี้นำ และด้านการจัดองค์กร ตามลำดับ
2. ข้าราชการตำรวจที่มีอายุแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทั้งโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
3. ข้าราชการตำรวจที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน และด้านการชี้นำ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ข้าราชการตำรวจที่มีระดับชั้นยศแตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4 สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร และด้านการควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
บุญชม ศรีสะอาด. (2551). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ประจักษ์ พึ่งอุบล. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตำรวจภายใต้ โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน กรณีศึกษา: สถานีตำรวจภูธรอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ร.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาควิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4. (2554). บรรยายสรุปศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4. ขอนแก่น.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2550). การจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท จี.พี.ไซเบอร์พริ้น จำกัด.