การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ทศพักตร์ ใบปอด
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
ภักดี โพธิ์สิงห์

บทคัดย่อ

การจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปรียบเสมือนเป็นแนวทางและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 383 คน ได้มาโดยการคำนวณประชากร จากสูตรของ Taro Yamane ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างตามระดับชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test และ F-test (One-way ANOVA) เสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประชาชนในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมและจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีความคิดเห็นว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย โดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการตัดสินใจ ด้านการประเมินผลและด้านการปฏิบัติงาน
2. ประชาชน โดยรวมและจำแนกตามเพศ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผล ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านการตัดสินใจ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ประชาชน โดยรวมและจำแนกตามอายุ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติงานและด้านการประเมินผล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประชาชน โดยรวมและจำแนกตามระดับการศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้าน 3 ด้านได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ประชาชน โดยรวมและจำแนกตามอาชีพ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ ด้านการรับผลประโยชน์และด้านการประเมินผล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ประชาชน โดยรวมและจำแนกตามระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวมและรายด้าน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจและด้านการประเมินผล ไม่ต่างกัน ยกเว้น ด้านการปฏิบัติงานและด้านรับผลประโยชน์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ที่สำคัญ ได้แก่ ควรรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนมากขึ้น ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลด้านสิ่งแวดล้อมและควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามาปฏิบัติงานในกิจกรรมที่ดำเนินงานในหมู่บ้าน
โดยสรุป การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยรวม และรายด้านทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งข้อสนเทศนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ใบปอด ท. . ., ส่งกลิ่น ป. . ., & โพธิ์สิงห์ ภ. . . (2014). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมของ องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Journal of Politics and Governance, 4(1), 297–313. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/272991
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2541). ความอ่อนแอขององค์กรปกครองท้องถิ่น, วารสารพัฒนาชุมชน. 37 (10) : 62.

บุญชม ศรีสะอาด(2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญรับ ศักดิ์มณี.(2546). การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ประภาพรศรีสถิตธรรม. (2543). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนในเขตเทศบาลนคร จังหวัดนครราชสีมา . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ.(2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ : กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พนิดาวิมานรัตน์. (2543). การมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พยุทน์นิยม. (2545). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นต่อการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : ศึกษาในพื้นที่กิ่งอำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550.(2550). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

วิทวัสแกล้วทะนง. (2541). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุริยาแก้วนารายณ์. (2548). บทบาทด้านสิ่งแวดล้อมของคณะผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.