การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : การสร้างกำแพง หรือ สะพาน ของการค้ามนุษย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอผลกระทบของการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่มีต่อการค้ามนุษย์ในภูมิภาคอาเซียนว่าจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางใด โดยอันดับแรกได้อธิบายถึงคำนิยามของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการค้าแรงงานข้ามชาติในรูปแบบที่ผิดกฎหมาย โดยการค้ามนุษย์จะกระทำเป็นกระบวนการและจะแทรกแซงอยู่ในรูปแบบการค้าแรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือซึ่งลักษณะของการค้ามนุษย์มี 2 หมวด คือ 1.) การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ได้แก่ การค้าหญิงเพื่องานบริการทางเพศ และการค้ามนุษย์เพื่อการแต่งงาน 2.) การแสวงหาประโยชน์เพื่อเศรษฐกิจและแรงงาน ได้แก่ การค้ามนุษย์เพื่อรับใช้งานในบ้าน การค้ามนุษย์เพื่อการบังคับใช้แรงงาน และการค้ามนุษย์เพื่อให้เป็นขอทาน นอกจากนี้บทความยังได้อธิบายเกี่ยวกับความเป็นมาของการเป็นประชาคมอาเซียน พร้อมทั้งวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และแต่ละเสาหลักจะมีนโยบายในการพัฒนาภูมิภาคที่แตกต่างกันไป ซึ่งในประเด็นนี้บทความได้วิเคราะห์ในมุมมองของผู้เขียนเกี่ยวกับผลกระทบของการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ที่มีต่อปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งจากบทวิเคราะห์สรุปได้ว่า ณ ปัจจุบันนี้หากมองจากนโยบายของการเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว อาจกล่าวได้ว่า เปรียบเสมือนการสร้างกำแพงล่องหน แต่การสร้างสะพานเชื่อมให้เกิดการค้ามนุษย์มีมาช้านานแล้ว เพียงแต่ครั้งนี้เป็นการสร้างสะพานให้ทอดยาวมากไปกว่าเดิม ดังนั้นสิ่งที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนต้องร่วมกันป้องกัน และอุดช่องโหว่ของปัจจัยที่จะก่อให้เกิดการค้ามนุษย์ ก็คือ เรื่องมาตรการการตรวจตราบริเวณพรมแดนอย่างเข้มงวด เพราะการเปิดประเทศอย่างเสรีมากกว่าเดิมหลังจากเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว แต่ละประเทศในภูมิภาคจะเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น ซึ่งประเทศในภูมิภาคอาเซียนจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง หากต้องการให้ปัญหาการค้ามนุษย์คลี่คลายให้ได้มากที่สุด และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือประชากรรากหญ้า เพราะพวกเขาคือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ได้ง่ายที่สุด ดังนั้นถ้าหากประชาคมอาเซียนดูแลและพัฒนาประชาชนภายในประเทศได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้ในเสาหลักประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และแก้ไขปัญหาได้ตามนโยบายในเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนอย่างจริงจังแล้ว ก็นับเป็นนิมิตหมายที่ดีในการที่จะสนับสนุนเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของภูมิภาคให้รุดหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศที่มีการพัฒนา หรือประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤตยา อาชวนิจกุล. (2545). สถานะความรู้เรื่องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยและทิศทางการวิจัยที่พึงพิจารณา. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กุศล สุนทรธาดาและอุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์. ( 2540 ). กระบวนการจ้างแรงงานข้ามชาติที่ลักลอบเข้าเมืองและความคิดเห็นของภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคมหาวิทยาลัยมหิดล.
นวลน้อย ตรีรัตน์. (2548). รายงานการวิจัย สภาพความรุนแรงของปัญหาองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันกฎหมาย สำนักอัยการสูงสุด.
พัชราวดี แก้วคูณ. (2543). การค้าหญิง: จากแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผู้หญิง.
พิศวาท สุคนธพันธุ์. (2548). รายงานการวิจัยมาตรการในการแก้ไขปัญหาการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่น (พิธีสารเพื่อต่อต้านการลักลอบขนย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ). กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมาย สำนักอัยการสูงสุด.
เมขลา วุฒิวงศ์. (2553). รวมบทความวิชาการและงานวิจัย การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 11 ( พ.ศ. 2553 ) (เล่ม 1). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม. (2550). โครงการวิจัยเรื่อง กระบวนการเข้าสู่การค้ามนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สรรพสิทธิ์ คุมประพันธ์. (2548). รายงานการวิจัยมาตรการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะหญิงและเด็ก. กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมายสำนักอัยการสูงสุด.
สุมาลี ปิตยานนท์. (2545). ตลาดแรงงานไทยกับนโยบายรัฐ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
อำนาจ เนตยสุภา. (2552). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์. วารสารวิชาการนิติศาสตร์, 2(3), 9-28.
Blair Thomas E. (2006). Living on the Edges: Cross – Border Mobility and Sexual Exploitation in the Greater Southeast Asia Sub – Region. Nakhon Pathom: Southeast Asian Consortium on Gender, Seruality and Health.
Darwin Mubadjir andWattie Anna Marie. (2006). Living on the Edges: Cross – Border Mobility and sexual exploitation in the Greater Southeast Asia Sub–Region. Nakhon Pathom: Southeast Asia Consortium on Gender, Sexuality and Health.
เว๊บไซต์
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2551). โครงการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในกิจการที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าวทำงาน, 18 กันยายน 2552. http://www.statelessperson.com/www/?q=node/6712
กรมสอบสวนคดีพิเศษ. (2551). 4 เส้นทาง การค้ามนุษย์ แฟ้มลึก – ข้อมูล ดีเอสไอ, 18 กันยายน 2552. http://www.oknation.net/blog /print.php?id =244519
กระทรวงการต่างประเทศ. (2550). ความร่วมมือของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์,
กันยายน 2552. www.mfa.go.th/internet/document/1722.doc
ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. (2552). ประชมคมอาเซียนและกฎบัตรอาเซียนคืออะไร และสำคัญอย่างไร?. 30 มิถุนายน 2556. http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1324
พงษ์นคร นครสันติภาพ. (2550). บทบาทของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองด้านการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์. 30 มิถุนายน 2556. 14_forced_labour_by_police_lieutenant_colonel_ pongnakorn_nakornsantipap_th.pdf
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา. (2554). รายงานการค้ามนุษย์ ประจำปี พ.ศ. 2554. 30 มิถุนายน 2556. http://www.notforsale.in.th/autopagev4/show_page.php? topic_id= 1349 &auto_ id= 8&T opi cP k
สมเกียรติ ตั้งนโม. (2548). การตักตวงประโยชน์ทางร่างกาย ทัศนียภาพของโลกกว้างเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์, 1 กรกฎาคม 2552.http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document9591.html
อดิศร เกิดมงคล. (2550). แรงงานข้ามชาติพม่า: เหยื่อเผด็จการทหารพม่าและอคติในสังคมไทย, 24 มิถุนายน 2552. http://gotoknow.org/blog/migrantworkers/25860
อดิศร เกิดมงคล. (2550). แรงงานข้ามชาติในสังคมไทย (1): การย้ายถิ่นของผู้ลี้ภัย ความผูกพันกับสังคมไทย, 24 มิถุนายน 2552.. http://www.prachathai.com/05web/upload/ HilightNews/document