นโยบายต่างประเทศไทยต่อเมียนมาหลังการรัฐประหารในเมียนมาปี 2021

Main Article Content

จุฑามณี สามัคคีนิชย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการศึกษานโยบายต่างประเทศของไทยต่อเมียนมาหลังการรัฐประหารในเมียนมาปี 2021 โดยใช้แนวคิดเรื่องการเมืองเกี่ยวพัน (Linkage Politics) ของเจมส์ เอ็น โรสนาว (James N. Rosenau) โดยแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสองระดับ คือ ปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ แผนแม่บทและเป้าหมายด้านการต่างประเทศของไทยในการส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชน ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างผู้นำทหารไทยและเมียนมา และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยในเมียนมา ปัจจัยภายนอกประเทศ ได้แก่ บทบาทของอาเซียนและองค์การสหประชาชาติต่อการแก้ปัญหาเมียนมา และท่าทีของกลุ่มผู้นำทหารเมียนมาต่อกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยในเมียนมา จากการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศไทยต่อเมียนมา พบว่า นโยบายต่างประเทศของไทยต่อเมียนมาหลังการรัฐประหารปี 2021 มีเป้าหมายสำคัญในการรักษาสมดุลระหว่างการปกป้องหลักการประชาธิปไตยและหลักสิทธิมนุษยชนและการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยในเมียนมา เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลไทยภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เลือกใช้จุดแข็งของการต่างประเทศไทยที่เป็นประเทศ “สายกลาง” เข้าได้กับทุกฝ่าย โดยการดำเนินนโยบาย “การทูตพหุภาคี” ควบคู่ “การทูตแบบเงียบ” เพื่อสร้างช่องทางที่หลากหลายในการหารือกับฝ่ายเมียนมา ทั้งนี้ การทูตพหุภาคีนับเป็นช่องทางสำคัญของไทยในการหารือกับเมียนมาอย่างเป็นทางการแต่มีความยืดหยุ่น ขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยใช้การทูตแบบเงียบเป็นช่องทางการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างไทยกับเมียนมา ฝ่ายไทยคาดหวังว่าการเจรจาทางการทูตจะช่วยโน้มน้าวให้ผู้นำกองทัพเมียนมาลดท่าทีที่แข็งกร้าวและเลือกการแก้ไขปัญหาโดยสันติ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างผู้นำทหารไทยและผู้นำทหารเมียนมาหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่าทีและจุดยืนของไทยที่ไม่สอดคล้องต่อ “หลักฉันทามติ 5 ข้อ” ของอาเซียน

Article Details

How to Cite
สามัคคีนิชย์ จ. . (2023). นโยบายต่างประเทศไทยต่อเมียนมาหลังการรัฐประหารในเมียนมาปี 2021. Journal of Politics and Governance, 13(3), 219–238. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/271325
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2556). คำศัพท์-คำย่อทางการทูตและการต่างประเทศ. https://image.mfa.go.th/mfa/0/6p4M7ae5k9/.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2563). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่างประเทศ (พ.ศ. 2561-2580). ttps://www.mfa.go.th/th/page/แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ.

กระทรวงการต่างประเทศ. (2564). แถลงการณ์ของไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 11 มีนาคม 2564. https://www.mfa.go.th/th/content/thailandstatementonmyanmar11mar2021?cate=5d5bcb4e15e39c306000683b

กรุงเทพธุรกิจ. (4 กุมภาพันธ์ 2564). การค้าไทย-เมียนมา โอกาสจากความเปลี่ยนแปลง. https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/126865

ไทยรัฐออนไลน์. (2 กุมภาพันธ์ 2564). นายกฯ ขอสื่อฯ เสนอข่าวรัฐประหารเมียนมา ระวังกระทบผลประโยชน์ ศก.ประเทศ. https://www.thairath.co.th/news/politic/2024573.

ประชาไท. (19 มิถุนายน 2564). สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติเรียกร้องให้หยุดการจัดส่งอาวุธไปยังพม่า สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2021/06/93591

มติชนออนไลน์. (27 มีนาคม 2566). ฉลองวันกองทัพเมียนมา! ‘มินอ่องลาย’ กร้าว ปราบฝ่ายต่อต้านให้ราบคาบ ค่อยจัดเลือกตั้ง. https://www.matichon.co.th/foreign/news_3896095#google_vignette

มติชนออนไลน์. (11 พฤษภาคม 2566). ‘วิโดโด’ รับฉันทามติ 5 ข้อเมียนมาไม่คืบ ‘ดอน’ ชี้ต้องยืดหยุ่น หาทางแก้ที่ทำได้จริง. https://www.matichon.co.th/foreign/news_3973351

เวณิกา บุญมาคลี่. (2540). พม่า: นโยบายต่างประเทศไทยสมัย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (1-31 มีนาคม 2565). ทิศทางของเมียนมาหลังการรัฐประหารปีที่ 2. https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/research_202203251 648181035881656.pdf.

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. (11 มีนาคม 2564). รัฐประหารเมียนมา: กองทัพอิงเพื่อนบ้าน เมินตะวันตก อาเซียนไร้เอกภาพกดดัน. BBC News (Thai). https://www.bbc.com/thai/thailand-56356536

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี. (26 กุมภาพันธ์ 2565). หยุดกลจักรสังหาร ยูเอ็นเรียกร้องหยุดขายอาวุธ ให้กองทัพพม่าเข่นฆ่าประชาชน. ไทยรัฐออนไลน์. https://plus.thairath. co.th/topic/spark/101162.

Armed Conflict Location and Event Data Project. (2021). Myanmar’s Spring Revolution. https://acleddata.com/2021/07/22/myanmars-spring-revolution/

Assistance Association for Political Prisoners. (2023). Daily Briefing since Coup. https://aappb.org/https:/sgp.fas.org/crs/row/R46792.pdf

Campbell, C. (16 July 2015). This Septic Isle: Backpackers, Bloodshed and the Secretive World of Koh Tao. Time. Retrieved from https://time.com/3955081/thailand-koh-tao-murder-david-miller-hannah-witheridge-zaw-lin-wai-phyo-burma-myanmar/

Collins, C., & Packer, J. (2006). Options and techniques for quiet diplomacy. Sandoverken: Folke Bernadotte Akademy.

Ganesan, N. (2 May 2023). Thailand’s Policy Towards a Post-Coup Myanmar. Fulcrum. https://fulcrum.sg/thailands-policy-towards-a- post-coup-myanmar.

Mancini, F. (2011). A Quiet Diplomat for Challenging Times. (United Nations Chronicle). https://www.un.org/en/chronicle/article/quiet-diplomat-challenging-times

Ministry of Foreign Affairs. (2016). Official Visit of H.E. Daw Aung San Suu Kyi, State Counsellor of Myanmar to Thailand. https://www.mfa.go.th/en/content/ 5d5bd00d15e39c306001d0ad?cate=5d5bcb4e15e39c3060006832

Paribatra, M. L. P. (2022). Myanmar’s struggle for survival: vying for autonomy and agency. The Pacific Review, 35(2), 269-296.

Pongsudhirak, T. (23 June 2023). Thailand's policy on Myanmar stinks. Bangkok Post. https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2597571/thailands-policy-on-myanmar-stinks

Rosenau, J. N. (1969). Linkage Politics: Essays on the Convergence of National and International Systems. The Free Press.

Septiari, D. (17 February 2021). Indonesia ‘shuttles’ to Brunei for Myanmar coup response. The Jakarta Post. https://www.thejakartapost. com/paper/2021/02/16/indonesia-shuttles-to-brunei-for-myanmar-coup-response.html

Srivardhana, S. (2003). Responses to a Major Foreign Policy Change: The Case of Thailand’s Foreign Policy Towards the Conclusion of the Third Indochina Conflicts During the Government of Chatichai Choonhavan (1988-1991). (PhD Dissertation). University of London.

Strangio, S. (1 July 2022). Myanmar Apologizes After Jet Fighter Violated Thai Airspace. The Diplomat. https://thediplomat.com/2022/07/myanmar-apologizes-after-jet-fighter-violated-thai-airspace/

United Nations. (2022). Myanmar: UN report urges immediate, concerted effort by international community to stem violence, hold military accountable. https://www.ohchr.org/en/press-releases/2022/03/myanmar-un-report-urges-immediate-concerted-effort-international-community.

United Nations. (2023). The Billion Dollar Death Trade: The International Arms Networks that Enable Human Rights Violations in Myanmar. https://www.ohchr.org/sites/default/files/documents/countries/myanmar/crp-sr-myanmar-2023-05-17.pdf

VOA. (4 January 2023). Myanmar Army Leader Touts Election Plan, Prisoner Release on Independence Day. https://www.voanews.com/a/myanmar-army-leader-touts-election-plan-on-independence-day/6903611.html