วงจรความพิการ-ความยากจน: ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อยุติวงจร

Main Article Content

จีรวัฒน์ เจริญสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความพิการและความยากจน ซึ่งเปรียบเสมือนฝาแฝดที่ตามติดกันและกันอยู่ตลอดเวลา รวมถึงนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการแก้ปัญหา โดยส่วนมากแล้ว ความพิการมักจะนำมาซึ่งความยากจน และในทำนองเดียวกัน ความยากจน ก็มักจะนำมาซึ่งความพิการ กลายเป็นวงจรที่หมุนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเรียกว่า “วงจรความพิการ-ความยากจน” ทำให้เป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่งที่คนพิการจะสามารถถีบตัวเองเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นคนพิการ มีแนวโน้มที่จะส่งผลทำให้รายได้ในครัวเรือนต้องลดลงไปด้วย ในทำนองเดียวกัน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือครัวเรือนใดมีฐานะยากจน ก็มีแนวโน้มที่คน ๆ นั้นหรือสมาชิกในครัวเรือนนั้นจะต้องพบกับความพิการ ดังนั้น เพื่อยุติวงจรความพิการที่นำไปสู่ความยากจน ภาครัฐควรต้องมีนโยบายสาธารณะที่มุ่ง ขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่กีดขวางศักยภาพของคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถใช้ชีวิตในสังคม ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ตามอัตภาพ และเพื่อยุติวงจรความยากจน ที่นำไปสู่ความพิการ ภาครัฐควรต้องมีนโยบายสาธารณะที่สนับสนุนมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีพอ แก่คนยากจน

Article Details

How to Cite
เจริญสุข จ. . (2023). วงจรความพิการ-ความยากจน: ข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเพื่อยุติวงจร. Journal of Politics and Governance, 13(3), 202–218. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/271144
บท
บทความวิชาการ

References

คชรักษ์ แก้วสุราช. (2564). ถ้ามีรัฐสวัสดิการชีวิตคนพิการจะเป็นอย่างไร. https://thisable.me/content/2021/01/679

นณริฎ พิศลบุตร, วัชรินทร์ ตันติสันต์, ศุภชัย สมผล, และวิชญา พีชะพัฒน์. (2561). ก้าวแรกสู่การแก้ไขปัญหาคนจนให้หมดประเทศ. https://tdri.or.th/2018/01/disabled-state-welfare1/

ปณิศา เอมโอชา. (2565). คนพิการกับโอกาสในการมีงานทำกับคนปกติในไทย ในปี 2565. https://www.bbc.com/thai/thailand-62311330

พิชญา เตระจิตร. (2565). เพราะทุกคนมีความพิการอยู่ในตัว ไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง: ดร.ทวี เชื้อสุวรรณทวี. https://thisable.me/content/2022/02/797

วันดี สันติวุฒิเมธี. (2561). ปลดล็อค “กรงขังความคิด” ปิดโรงงานขอทาน คุยกับต่อพงศ์ เสลานนท์. https://www.the101.world/tag/ต่อพงศ์-เสลานนท์/

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2555). สู่ความเป็นธรรมระบบบริการสุขภาพคนพิการ. https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3923?show=full&locale-attribute=en

เอกชัย จั่นทอง. (2561). สังคมก้าวไม่ทันกฎหมายผู้พิการ “อย่าจำนนเสพความช่วยเหลือ”. https://www.posttoday.com/politic/report/548191

Bunnag, N. (2564). ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ.... . https://www.sdgmove.com/ 2021/04/08/social-determinants-of-health-and-health-equity/

Cheausuwantavee, T. & Suwansomrid, K. (2560). Disability law and policy in Thailand: An ideal and reality in the past decade. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 14, 87-103.

Duereh, A. (2565). “รายงานของ WHO เผยความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ...”. https://www.sdgmove.com/2022/12/15/who-global-report-on-health-equity-disabilities/

Eide, A., Loeb, M., Nhiwatiwa, S., Munthali, A., Ngulube, T. & Van Rooy, G. (2011). Living conditions among people with disabilities in developing countries. In Eide, H. & Ingstad, B. (eds). Disability and Poverty: A Global Challenge. Bristol University Press and Policy Press.

Fjeld, H. & Sagli, G. (2011). Disability, poverty, and healthcare: Changes in the canji (‘disability’) policies in the history of the People’s Republic of China. In Eide, H. & Ingstad, B. (eds). Disability and Poverty: A Global Challenge. Bristol University Press and Policy Press.

Loyalha, P., Liu, L., Chen, G., & Zheng, X. (2014). The cost of disability in China. Demography, 51(1), 97-118.

Pinilla-Roncancio, M. (2015). Disability and poverty: Two related conditions, a review of the literature. Revista de la Facuitad de Medicina, 63(3), 113-123.

Singlor, T. (2564). 90% ของผู้พิการทางสายตาทั่วโลกกระจุกอยู่ในประเทศรายได้น้อย… . https://www.sdgmove.com/2021/09/01/extreme-poverty-and-blindness-cycle-broken-by-social-determinants-of-health-in-low-income-countries/

Swain, J., & French, S. (2013). International perspectives on disability. In Swain, J., French, S., Barnes, C. & Thomas, C. (eds). Disabling Barriers-Enabling Environments. SAGE Publications.

The Momentum Team. (2563). ทำไมเด็กพิการไทยถึงไม่ได้เรียน (ต่อ): ร่วมหาคำตอบและทางแก้ไขไปกับ ภรณี ภู่ประเสริฐ. https://themomentum.co/thaihealth-learnnaidee/

United Nations. (2019). Ending poverty and hunger for all persons with disabilities (Goals 1 and 2). https://www.un.org/development/desa/disabilities/wp-content/uploads/sites/15/2019/11/poverty-hunger-disability-brief2019.pdf

Wazakili, M., Chataika, T., Mji, G., Dube, K., & MacLachlan, M. (2011). Social inclusion of people with disabilities in poverty reduction policies and instruments: Initial impressions from Malawi and Uganda. In Eide, H. & Ingstad, B. (eds). Disability and Poverty: A Global Challenge. Bristol University Press and Policy Press.

Yongstar, S. (2565). ฟังสิ่งที่ผู้พิการถูกเลือกปฏิบัติจากที่ทำงาน. https://thematter. co/social/disabled-working/190873