ถอดรหัสภูมิปัญญาชาวบ้านในท้องถิ่นอีสานในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและความหมายขององค์ประกอบ ของกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต ทั้งแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 12 คน เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกประกอบด้วย การมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับความขัดแย้งในชุมชน ความรู้เกี่ยวกับความขัดแย้งในชุมชนและการเจรจาไกล่เกลี่ย และความหลากหลายด้านอายุและเพศ วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการพัฒนาประเด็นและการสร้างทฤษฎีฐานราก ผลการศึกษา พบว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นกระบวนการแห่งการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเองเพื่อการบรรลุเป้าหมาย การคืนดีกัน กระบวนการจึงมีความยืดหยุ่นด้านองค์ประกอบ กลวิธีและตามสถานการณ์ กระบวนการประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนวันเจรจาไกล่เกลี่ยและวันเจรจา ไกล่เกลี่ย ภารกิจสำคัญในการเตรียมการก่อนวันเจรจาไกล่เกลี่ยคือการใช้ความสามารถในการ เชื้อเชิญและระดมบุคคลเข้าร่วม และการเตรียมข้อมูล วันเวลาและสถานที่ ในวันเจรจาไกล่กลี่ย การเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นเวทีเปิดโดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยทั้งผู้ที่ได้รับการเชิญด้วยวาจาและผู้ที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ แก่นหลักคือการใช้ความสามารถของผู้เข้าร่วมในการทำให้คู่กรณีเข้าใจประเด็นความขัดแย้งทีละประเด็นและยอมรับแนวทางแก้ปัญหาจนบรรลุเป้าหมาย กลวิธีสำคัญคือการร่วมกันเกลี้ยกล่อมโอ้โลมเพื่อเปลี่ยนความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรม ความพยายามในการเกลี้ยกล่อมโอ้โลมก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะด้านจังหวะลีลา การแทรกแซง บทสนทนา ภาษาและความหมาย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย, 2548. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : การคืน “อำนาจ” แก่เหยื่ออาชญากรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ : เอเชียแปซิฟิค ออฟเซ็ท.
Benjamin, J. J., & Lundy, B. D. (2014). Introduction: Indigeneity and modernity, from conceptual category to strategic juridical identity in the context of conflict. In A. G. Adebayo, J. J. Benjamin & B. D. Lundy (Eds.), Indigenous Conflict Management Strategies: Global Perspectives (pp. 1-12). Lanham, MD: Lexington Books.
Bukari, K. N. (2013). Exploring indigenous approaches to conflict resolution: The case of the Bawku conflict in Ghana. Journal of Sociological Research, 4(2), 86-104.
Creswell, J. W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing among five traditions. Thousand Oaks, CA: Sage.
Have, P. ten. (2004). Understanding Qualitative Research and Ethnomethodology. London: SAGE Publications.
Kaufmann, D., Kraay, A., & Mastruzzi, M. (2005). Governance Matters IV: Governance Indicators for 1996-2004. Policy Research Working Paper, No. 3630. World Bank, Washington, DC.
Lundy, B. D., Collette, T. L., & Downs, J. T. (2022). The effectiveness of indigenous conflict management strategies in localized contexts. Cross-Cultural Research, 56(1), 3–28.
Organization for Security and Co-operation in Europe. (n.d.). Mediation and Dialogue Facilitation in the OSCE: Reference guide (pp. 28-30). OSCE.
Osi, C. (2008). Understanding indigenous dispute resolution processes and Western alternative dispute resolution: Cultivation culturally appropriate methods in Lieu of litigation. Cardozo Journal of Conflict Resolution, 10(Fall 2008), 163-231.
Tuso, H. (2016b). Indigenous processes of conflict resolution: Neglected methods of peacemaking by the new field of conflict resolution. In H. Tuso & M. P. Flaherty (eds.), Creating the Third Force: Indigenous Processes of Peacemaking (pp. 27-510). Lanham, MD: Lexington Books.
UN Department of Political and Peacebuilding Affairs. (2020). UN Support to Local Mediation: Challenges and opportunities (pp. 9-16). DPPA, Mediation Support Unit, Policy & Mediation Division.
UNDP, UNICEF, and UN Women, 2013. Informal Justice Systems: Charting a Course for Human Rights-based Engagement. Danish Institute for Human Rights, eds. New York: UNDP, UNICEF and UN Women.
Yin, R. K. (2003). Case Study Research: Design and Methods. (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.