แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐสู่องค์การดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจตัวบ่งชี้ที่สำคัญขององค์ประกอบในการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ กับทักษะดิจิทัลของบุคลากร 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษา และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อการมุ่งสู่องค์การดิจิทัล ด้านการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ ที่สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 388 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (mixed-methods research approach) ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบในการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษามี 6 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคิดเห็นว่าตัวบ่งชี้ที่สำคัญในระดับมากที่สุด สำหรับการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษา มีจำนวน 10 ตัว 2) ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะดิจิทัลของบุคลากร กับองค์ประกอบขององค์การดิจิทัลทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า มีความสัมพันธ์กันที่ระดับต่ำมาก 3) องค์ประกอบของการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษา ทั้ง 6 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการพัฒนาองค์การดิจิทัลด้านการศึกษา โดยมีค่าดัชนี ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย x2 = 1039.415, df = 558, X2/ df = 1.863, P-value = 0.368, CFI = 0.953, TLI = 0.965, RMSEA = 0.054, SRMR = 0.061 และ 4) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อการมุ่งสู่องค์การดิจิทัล ด้านการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ควรดำเนินการ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากร 2) ด้านปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้สอดรับนโยบาย และ 3) ด้านการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ อินทรวิเศษ, ธนวัฒน์ เจริญษา, และพิชญาภา ยวงสร้อย. (2564). ภาพสะท้อนการศึกษาไทยหลังภาวะโควิด 2019. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 323-333.
ธีร์ ภวังคนันท์. (2564). การบริหารการศึกษาในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 2(2), 25-32.
วัยวุฒิ บุญลอย, ธีรังกูร วรบำรุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์, และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564). โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. ศึกษาศาสตร์สาร, 5(1), 44-57.
สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน. (2560). ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. สำนักงานข้าราชการพลเรือน.
สุรพงษ์ มาลี. (2562). การพลิกโฉมสู่องค์กรที่พร้อมปรับเปลี่ยนในยุคกำรเปลี่ยนแปลงที่พลิกผัน: โครงสร้าง ระบบ ทรัพยากรบุคคล และภาวะผู้นำ. OCSC e-Journal, 61(2), 8-11.
Comrey, A.L., & Lee, H.B. (1992). A first course in factor analysis. (2ed). Lawrence Erlbaum Associated.
Autodesk Inc (ADSK). (2021, January 25). About digital skills foundation: Digital skills foundation. https://www.digitalskillsfoundation.org/about-digital-skills-foundation/
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson.
Hooper, D., Coughlan, J., & Mullen, M. R. (2008). Structural equation modeling: Guidelines for determining model fit. Journal of Business Research, 6(1), 53-60.
World Economic Forum. (2011). The future of government: Lessons Learned from around the World. https://www.alejandrobarros.com/wp-content/uploads/old/WEF_EU11_FutureofGovernment_Report-1.pdf