สถานการณ์ แนวทางดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคมธุรกิจสร้างประโยชน์ จากการมีส่วนร่วมของชุมชนในต่างประเทศ และบริบทประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์วิสาหกิจเพื่อสังคมในต่างประเทศและบริบทประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคมธุรกิจสร้างประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามกรอบแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม วิสาหกิจเพื่อสังคม การมีส่วนร่วมของชุมชน และทฤษฎีการเสริมสร้างพลังชุมชน การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพโดยการทบทวนวรรณกรรมจากบทความวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือวิชาการทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกชนิดกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ องค์กรไม่แสวงหากำไร ธุรกิจความรับผิดชอบต่อสังคม และวิสาหกิจชุมชน จำนวน 17 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ต่างประเทศสถานการณ์ของวิสาหกิจเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ควบคู่กับการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การคืนประโยชน์ให้แก่ชุมชนและองค์กรฐานะผู้รับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม ประเทศไทยจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดเพื่อช่วยมาตรการภาษี แยกรูปแบบธุรกิจหลากหลายมีการแบ่งปันกำไรและไม่แบ่งปันกำไรให้แก่ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
2. วิสาหกิจเพื่อสังคมรูปแบบการดำเนินงานธุรกิจสร้างประโยชน์จากการเชื่อมโยงการดำเนินกิจการผ่านการประสานพลัง การเสริมพลังชุมชน และหน่วยงานภาคีการพัฒนาให้การสนับสนุนตามบทบาทเพื่อสร้างประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2562). ผลงานเด่นและวิธีปฏิบัติที่ดี Best Practice การขับเคลื่อนงานเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ 76 จังหวัด. กรุงเทพฯ: องค์กรออนอาร์ตครีเอชั่น จำกัด.
จีระ พุ่มพวง, และกำชัย จงจักรพันธ์. (2565). มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(46), 262-278.
ชนัฐนันท์ ม่วงวิเชียร. (2561). กิจการเพื่อสังคมกับบทบาทภาคส่วนที่สามเพื่อการพัฒนาสังคม อย่างยั่งยืน กรณีคุณมีชัย วีระไวทยะ(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
ณัฐวีณ์ บุนนาค. (2565). สถาบันอุดมศึกษากับการส่งเสริมความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 12(2), 125-145.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์. (2563). การพัฒนาอย่างยั่งยืนกับวิสาหกิจเพื่อสังคม. นนทบุรี: โรงพิมพ์รัตนไตร.
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ. (2562). เลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป. สัมภาษณ์, 31 สิงหาคม.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 67, หน้า 32-56 (22 พฤษภาคม 2562).
มณีรัตน์ จันทร์หนิ้ว, ประพิน นุชเปี่ยม, และวริยา ล้ำเลิศ. (2565). การพัฒนากรอบแนวคิดทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(48), 46-60.
มีชัย วีระไวทยะ. (2562). สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน. สัมภาษณ์, 3 กันยายน.
รัตพงษ์ สอนสุภาพ, และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2561). ความมั่นคงของวิสาหกิจเพื่อสังคมเส้นทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 9(3), 27-38.
วิชัย โชควิวัฒน. (2560). วิสาหกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.
ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2558). การศึกษากรอบแนวคิดเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(2), 30–46.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ศุภญา กิจกมลวัฒน์. (2561). ทิศทางการรายงานผลการดำเนินงานแบบสามมิติในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(2), 133-144.
สุมัชณี นันทานนท์. (2559). แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังของบริษัท GPSC ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุริยา บุตรพันธ์, และชมพูนุท แต้เฮง. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มปลูก และแปรรูปมะคาเดเมียน้ำหนาวสู่วิสาหกิจเพื่อสังคมในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 1–15.
เสกสรรค์ สนวา, อภิชาติ ใจอารีย์, และระวี สัจจโสภณ. (2564). สังเคราะห์กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นชุมชนประชาธิปไตย. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(3), 45-65.
อภิชาติ ใจอารีย์. (2559). กระบวนการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาการจัดการป่าชุมชนบ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 111–136.
Defourny, J. & Kim, S. (2011). Emerging models of social enterprise in Eastern Asia: A cross-country analysis. Social Enterprise Journal, 7(1), 86-111.
Elkington, J. (1997). Cannibals with Forks: The Triple Bottom Line of Twenty-First Century Business. Oxford: Capstone.
Sakulsuraekkapong, Somkiat. (2016). Value-Added Product and Service in Social Enterprise. Retrieved October 5, 2022. from https://so06.tcithaijo.org/index.php/wms/article/view/67749/55271
Zimmerli, Richter & Holzinger. (2007). Corporate Ethics and Corporate Governance. New York: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.