องค์ความรู้ของหมอลำกลอนสะท้อนวิถีชีวิตชาวอีสาน

Main Article Content

Pitsanupong Srisakkayawarangkun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาที่มาของแหล่งความรู้ของหมอลำกลอนและเพื่อศึกษาภาพสะท้อนสังคมอีสานผ่านหมอลำกลอน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์การพัฒนาการองค์ความรู้ของหมอลำกลอน และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์และกลอนลำที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ของ หมอลำกลอน ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ของหมอลำกลอนมีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดของคนในท้องถิ่นอีสานและในสังคมไทย มีบทบาทในการสื่อสาร ทำหน้าที่เป็นสื่อพื้นบ้านเพื่อให้ความบันเทิงประกอบกับสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ สะท้อนวิถีชีวิต และบันทึกพฤติกรรมของคนในท้องถิ่นผ่านบทกลอนลำในการแสดงลำกลอน มาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งด้านสังคมที่ประกอบไปด้วยการดำรงชีวิต การเมือง สาธารณะสุข การศึกษา และด้านวัฒนธรรม ที่ประกอบไปด้วย ด้านประเพณี พิธีกรรม ศาสนา ความเชื่อ ตลอดจนยังสามารถสร้างกระแสความเชื่อให้กับคนในท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านการสื่อสารของหมอลำกลอน ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้และเกิดแนวความคิด ความเชื่อในด้านต่าง ๆ ต่อผู้ฟังในท้องถิ่นอีสานและชี้ให้เห็นถึงองค์ความรู้ของหมอลำกลอนที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของคนอีสาน

Article Details

How to Cite
Srisakkayawarangkun, P. (2023). องค์ความรู้ของหมอลำกลอนสะท้อนวิถีชีวิตชาวอีสาน. Journal of Politics and Governance, 13(2), 224–239. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263486
บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2543). ภูมิปัญญาอีสาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2526). หมอลำ. วัฒนธรรมไทย. 22(3), 49-54. มีนาคม 2526.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2528). บทบาทของหมอลำต่อสังคมอีสานในช่วงกึ่งศตวรรษ. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ฉัตรทิพย์ นาภสุภา. (2541). ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยนาทร์ มาเพ็ชร. (2545). ภูมิปัญญาทางคีตศิลป์ของหมอลำ ป.ฉลาน้อย. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

นนท์ พลางวัน. (2550). หอมดินอีสาน. เครือข่ายประชาชนภาคอีสาน

ปรีชา พิณทอง. (2528). ไขภาษิตโบราณอีสาน. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรม.

พิศณุภงศ์ ศรีศากยวรางกูร, และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2561). จิตวิญญาณหมอลำกลอนสู่ความเชื่อทางการเมืองของท้องถิ่นอีสาน. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 71-84. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/147142/108411

พิศณุภงศ์ ศรีศากยวรางกูร. (2560). การสื่อสารทางการเมืองของหมอลำกลอนในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรศิริ ศรีอระพิมพ์. (2551). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาด้านการแสดงหมอลำผญาจังหวัดมุกดาหารเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร.(2544). สุทรียภาพในกลอนลำของหมอลำ: องค์ประกอบปัจจัยเกื้อหนุนในการสร้างสรรค์. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริวรรณ วิทยามาลา. (2532). หมอลำผีฟ้า. (ดุริยนิพนธ์การศึกษาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง. (2548). บทบาทของหมอลำในการแก้ไขปัญหาสังคม. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2532). วรรณกรรมและหมอลำ: ภาพสะท้อนชีวิตอีสาน. ใน วัฒนธรรมพื้นบ้าน: กรณีอีสาน. หน้า (168-209) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.

สุภณ สมจิตรศรีปัญญา. (2536). ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ จากต้นฉบับใบลาน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการไทยคดีวิชาการ 35. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

เสงี่ยม บึงไสย์. (2531). บทบาทของลำกลอนในด้านการเมือง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บทสัมภาษณ์

หมอลำกฤษณา บุญแสน. (26 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]

หมอลำจำนง ฤาชา. (26 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]

หมอลำบุญเรือง วรวัตร. (26 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]

หมอลำสุวรรณ บัวนาค. (13 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]

หมอลำละเอียด ดาวอุดร. (26 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]

หมอลำอ่อนสี ธวีรัตน์. (13 ธันวาคม 2564). [บทสัมภาษณ์]