วาทกรรมว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยสมัยก่อนการพัฒนา (พ.ศ. 2451-2457)

Main Article Content

ธุวพล ทองอินทราช

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ต้องการวิเคราะห์ถึงภาพของความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมกับนโยบาย ว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยในยุคสมัยก่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นไปที่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) เพื่ออธิบายให้เห็นว่าบริบททางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ในยุคสมัยนี้มีส่วนสำคัญอย่างไรในการก่อรูปวาทกรรมนโยบายโสเภณี วาทกรรมนโยบายโสเภณีที่ถูกก่อรูปขึ้นมานี้นำไปสู่การต่อต้านวาทกรรมในรูปแบบใด โดยวาทกรรมนโยบาย ว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยในยุคสมัยก่อนการพัฒนานี้ ถูกก่อรูปขึ้นมาจากบริบทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ โดยมีตัวแสดงที่สำคัญคือรัฐบาลพระมหากษัตริย์ที่คอยกำหนดนิยามความหมาย ของโสเภณี ภายใต้ชุดของความรู้ความคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะ ถนน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคนี้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ในการสร้างถนนสายสำคัญก็มาจากการจัดเก็บภาษีจากกิจการโสเภณีที่เรียกว่า ภาษีบำรุงถนน ที่สร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้แก่รัฐ ผ่านทางกลไกในเชิงนโยบายที่สำคัญคือ ระบบเจ้าภาษีนายอากร และด้วยเหตุ ที่สามารถสร้างรายได้จำนวนมากดังกล่าว จึงก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองระหว่างรัฐ (พระมหากษัตริย์) และชนชั้นนำ (เจ้าภาษี) ส่งผลให้เกิด การต่อต้านวาทกรรมนโยบายโสเภณีที่ก่อรูปขึ้นโดยรัฐในรูปแบบต่าง ๆ โดยกลุ่มเจ้าภาษีนายอากร ซึ่งผลจากการต่อต้านวาทกรรมนโยบายโสเภณีดังกล่าว รัฐตอบโต้ด้วยการ ออกกฎหมายสำคัญยกเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากรในการจัดเก็บภาษีโสเภณี ส่งผลให้รัฐสามารถรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผูกขาดครอบงำนโยบายว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยตลอด ยุค สมัยก่อนการพัฒนา

Article Details

How to Cite
ทองอินทราช ธ. . (2022). วาทกรรมว่าด้วยโสเภณีในสังคมไทยสมัยก่อนการพัฒนา (พ.ศ. 2451-2457). Journal of Politics and Governance, 12(2), 225–246. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263131
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรงนครบาล 5.7/3 พระบัญญัติคณิกาภิบาล. 9 กันยายน ร.ศ.117-พฤษภาคม ร.ศ. 128.

กระทรวงนครบาล. ม-ร.5 น/180. พระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค ศก 127.

กระทรวงคลัง.14.2ก/7 ภาษีบำรุงถนน (25 สิงหาคม 112-24 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 118).

คริส เบเคอร์, และผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

คณะกรรมาธิการกิจการสตรีเยาวชนและผู้สูงอายุวุฒิสภา. (2546). เอกสารวิชาการลำดับที่11 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาวุฒิสภา.

แบ๊งค์ งามอรุณโชติ. (2554). โสเภณี...มีอยู่-รู้จัก แต่ไม่เข้าใจ.ใน OCTOBER 11: Sex Issue.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ openbooks.

บุญส่ง เผ่าทรง. (ม.ป.ป). ปัญหาหญิงโสเภณีในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2551). ประวัติศาสตร์ไทย 2 ราชวงศ์จักรี. โครงการศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

ภาวิณี บุนนาค. (2554). ผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึง พ.ศ. 2478: ศึกษาจากคดีความและฎีกา. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยศ สันตสมบัติ. (2548). ภาค 1: ปิตาธิปไตย พุทธศาสนา เพศสถานะและเพศวิถี การทำความเข้าใจ “เพศสถานะ” และ “เพศวิถี” ในสังคมไทย ในเพศสถานะและเพศวิถีในสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 24. หน้า 1365-1370 วันที่ 23 มีนาคม ร.ศ.126.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2550). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วีระยุทธ ปีสาลี. (2557). กรุงเทพฯ ยามราตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2549). แนวคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย.ในเอกสารชุดวิชา ประวัติศาสตร์ สังคมและการเมืองไทย. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศุลีมาน (นฤมล) วงศ์สุภาพ. (2541). นางงามตู้กระจก: การศึกษากระบวนการกลายเป็นหมอนวดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

ศิริวรรณ ว่องเกียรติไพศาล และคณะ. (2559). เจาะลึกการค้ามนุษย์ในธุรกิจทางเพศว่าด้วย การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิทักษ์สตรี (Alliance Anti Traffic: AAT).

ศิลปวัฒนธรรม. (2542). เซ็กซ์ในสยาม. ศิลปวัฒนธรรม, 20(4), กุมภาพันธ์ 2542.

ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (2561). เมื่อรัชกาลที่ 5 ทอดพระเนตร “สำนักโสเภณี”. ศิลปวัฒนธรรม, 39(8), เมษายน 2561

สมเกียรติ วันทะนะ. (2551). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2537). ร่วมแรงแบ่งปันรัก: สภาพและข้อเท็จจริงแห่งปัญหาโสเภณีและเอดส์. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สถาบันปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2548). กฎหมายตรา 3 ดวง ฉบับพิมพ์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรศาสตร์และการเมือง แก้ไขปรับปรุงใหม่ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

สันต์ ท. โกมลบุตร, ผู้แปล. (2510). จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับสมบูรณ์ เล่ม 1. พระนคร: สำนักพิมพ์ก้าวหน้า.

เสาวนีย์ เตชะไพบูลย์. (2551). การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์: ศึกษากรณีส่งหญิงไทยไปค้าประเวณียังต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

เสถียร ลายลักษณ์. (2478). ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 39.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดลิเมล์.

สุวัทนา อารีพรรค. (2550). เรียนรู้เรื่องเพศกับคุณหมอ (ภาค2).กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สุวดี ธนประสิทธิ์. (2558). สถานภาพทางสังคมของสตรีไทยในสมัยปฏิรูปประเทศ.ใน จิตร ภูมิศักดิ์ และวิวาทะเรื่องเพศภาวะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์6ตุลารำลึก.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 น.8/2.

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.5 น.8.12/33.

อัจฉราพร กมุทพิสมัย. (2549). เศรษฐกิจ สังคม การเมืองไทย สมัยรัชกาลที่ 4. ในเอกสารการสอน ชุดวิชาประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Haddock, Bruce. (2008). A History of Political Thought. Cambridge: Polity Press.