ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ

Main Article Content

ทรงเกียรติ ล้านพลแสน
รังสรรค์ อินทน์จันทน์
วัชรินทร์ สุทธิศัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบาย ตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ 2) ระดับการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ และ 4) รูปแบบการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคคลในวงการมวยโดยเลือกกลุ่มตัว จำนวน 398 คน กำหนดขนาดตามสูตรของยามาเน่ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ บุคคลในวงการมวยโดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 18 คน เครื่องมือคือแบบบันทึกข้อสนเทศจากการประชุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณด้วยวิธี Stepwise โดยผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก การนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการบริหารจัดการ ปัจจัยองค์กรที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยต่างประเทศ ปัจจัยวัตถุประสงค์ของนโยบาย ปัจจัยการเมือง และปัจจัยการติดต่อสื่อสารและการประสานงาน โดยสามารถอธิบายการผันแปร ของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติ ได้ร้อยละ 48.10 ( R2 = .481, F = 60.457) ซึ่งมีสมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบมาตรฐานดังนี้ Zr =.291Z5 + .229Z3 + .211Z9 -.303 Z1 + .201Z7 + 155Z4 ส่วนรูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ ควรมีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ให้สอดคล้องกับบริบทในสังคมปัจจุบันและควรจัดให้มีมาตรการบังคับทางกฎหมายต่อนักมวยและกรรมการผู้ตัดสินตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ล้านพลแสน ท. ., อินทน์จันทน์ ร. ., & สุทธิศัย ว. . (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายตามพระราชบัญญัติกีฬามวย (มวยไทย) ไปปฏิบัติ. Journal of Politics and Governance, 12(2), 146–160. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263124
บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). นโยบายจำนำข้าว ผลกระทบต่อความมั่นคง. สืบค้นจาก http://www.dailynews.co.th/Content/Article/66163/

เฉลิมชัย วัชราภรณ์ และคณะ. (2552). ปัจจัยสำเร็จที่มีผลต่อความเป็นเลิศของนักกีฬามวยสากล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการใช้บริการของค่ายมวยไทยต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มาเรียนมวยไทยในค่ายมวยไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ราชบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส. (2558). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการนำนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรไปปฏิบัติในจังหวัดสุรินทร์ (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรเทพ วงศ์อินทร์. (2555). การศึกษาการจัดการสวัสดิการ กองทุนกีฬามวย ตามทรรศนะของนักมวยผู้ฝึกสอน และหัวหน้าคณะค่ายมวยใน 8 จังหวัดภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ราชบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.

พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 116, ตอนที่ 128 ก, หน้า 11/16, ธันวาคม 2542.

พัชรมน รักษพลเดช. (2560). รูปแบบการจัดการธุรกิจมวยไทยอาชีพในประเทศไทย. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(1), 120-135.

พิมพ์ชนก ทองฉาย. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์กางเกงมวยไทยเพื่อเป็นของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชิต ต้นทัพไทย. (2555). ปัญหาทางกฎหมายในการจัดสวัสดิการนักกีฬามวยของไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิรินันท์ หล่อตระกูล, วัชรินทร์ สุทธิศัย, วิทยา เจริญศิริ และทรงศักดิ์ จีระสมบัติ. (2559). รูปแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(3), 9-25.

Jahnm, A. (2014). (2014).Nonprofit Organizations: An Introduction: Theory, Management and Policy. New York: Routledge.

Likert, R. (1967). The Human Organization: Its Management and Value. New York: McGraw-Hill.

Meyers, T. (2013). Organization Behavior: Concepts Controversies and Application. New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, T. (1976). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row