สถาบันอุดมศึกษากับการส่งเสริมความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจ ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย

Main Article Content

ณัฐวีณ์ บุนนาค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยและ 2) วิเคราะห์บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย รวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้บริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารและข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่ารัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องมาจนการมีพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม (พ.ศ. 2562) เน้นการใช้ระบบลงทะเบียนเพื่อให้ผลประโยชน์และมีการตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแล ผู้จัดเตรียมด้านเงินทุนให้การสนับสนุนทางการเงินในการเริ่มธุรกิจและการสนับสนุนที่ไม่ใช่การเงินควบคู่กัน การสนับสนุนแบบเงินกู้และการลงทุนเพื่อผลกระทบทางสังคมยังคงมีน้อย การเข้าถึงตลาดผ่านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่มีการริเริ่มจากภาคเอกชนและประชาสังคม โครงสร้างการสนับสนุนทางธุรกิจมีตัวแสดงสำคัญอาทิบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) องค์กรที่ทำหน้าที่สนับสนุนอาทิ SET Social Impact องค์กรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างวิสาหกิจเพื่อสังคมได้แก่สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม สำหรับประเด็นบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในระบบนิเวศทางธุรกิจในการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมพบว่ามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคมในอนาคต ปัจจุบันจำนวนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทดังกล่าวมีมากขึ้น หลายแห่ง ได้พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจเพื่อสังคมที่หลากหลาย อาทิหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท หลักสูตรระยะสั้น

Article Details

How to Cite
บุนนาค ณ. (2022). สถาบันอุดมศึกษากับการส่งเสริมความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจ ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย. Journal of Politics and Governance, 12(2), 125–145. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263123
บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาและจัดทำรายงานเรื่องวิสาหกิจเพื่อสังคม. (2558). รายงานเรื่องการศึกษาวิจัยประกอบการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฏิรูปแห่งชาติ.

ณัฐวีณ์ บุนนาค. (2562). การสำรวจบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธุรกิจของวิสาหกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: ทุนสนับสนุนการวิจัยคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประทิน นุชเปี่ยม, ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์, และบงกช เจนจรัสสกุล. (2561). วิสาหกิจเพื่อสังคม ในประเทศไทย: ข้อสังเกตบางประการต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม. วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 11(1), 109-141.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (ม.ป.ป.) รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/university.html

Defourny, J. (2014). From Third Sector to Social Enterprise: A European Research Trajectory. in J. Defourny, L. Hulgard and V. Pestoff. Social Enterprise and the Third Sector. New York: Routledge, 17-41.

Elkington, J. (1998). Cannibals with Forks: The Triple Bottom Line of 21st Century Business. London: New Society Publishers.

Inter – American Development Bank. (2016). Study of Social Enterpreneurship and Innovation Ecosystems in South East and East Asian Countries, Country Analysis: Kingdom of Thailand/ The Japan Research Institue. Retrieved from https://publications.iadb.org/bitstream/handle/11319/8064/Study-of-Social-Entrepreneurship-and-Innovation-Ecosystems-in-South-East-and-East-Asian-Countries-Country-Analysis-Kingdom-of-Thailand.pdf?sequence=1London: SAGE Publications Ltd.

Moore, J.F (1993). Predators and Prey: The New Ecology of Competition. Harvard Business Review, 71(3), 75-83.

Nonthanathorn, P. (2015). CSR and Social Enterprise Roles for Social Problem Solving. Journal of Social Development, 17(2), 13-34.

Pearce, J. (2003). Social Enterprise in Anytown. Lisbon: Calouste Gulbenkian Foundation.

Ridley-Duff, R and M. Bull. (2011). Understanding Social Enterprise: Theory and Practice. New York: Sage Publication.

Ridley-Duff, R. (2008). Social Enterprise as a Socially Rational Business. International Journal of Entrepreneurial Behaviour and Research, 14(5), 291-312.

UNDP and Change Fusion (2019) Mapping the Social Impact Investment and Innovative Finance Landscape in Thailand. Bangkok: UNDP Thailand.