ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

กุลประภัสสร์ รำพึงจิตต์
ภัทรภร จ่ายเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม และ(3) สร้างสมการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของประชาชนที่เกิดจากการผันแปรของตัวแปรอิสระ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 1,188 ตัวอย่าง ทำการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหูคูณเชิงเส้นตรง โดยผลการวิจัยพบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 6 ด้าน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐมโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 8 ตัวแปร ประกอบด้วยปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่อำนาจ (Beta= 0.61) ปัจจัยด้านแรงจูงใจฝาสัมพันธ์ (Beta= 0.54) ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Beta= 0.49) ปัจจัยภาวะผู้นำของชุมชน (Beta= 0.41) ปัจจัยต้องการทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้อื่น (Beta= 0.28) ปัจจัยความต้องการความสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (Beta= 0.21) ปัจจัยความเดือดร้อนไม่พอใจร่วมกันในชุมชน (Beta= 0.18) และปัจจัยความสนใจทางการเมือง (Beta= 0.14) ส่วนสมการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของประชาชนในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน มีดังนี้  gif.latex?\hat{Z} =0.49Z1 + 0.54Z2 + 0.61Z3 + 0.21Z4 + 0.28Z6 + 0.18Z9 + 0.41Z12 + 0.14Z13

Article Details

How to Cite
รำพึงจิตต์ ก. ., & จ่ายเพ็ง ภ. . (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม . Journal of Politics and Governance, 12(2), 98–110. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/263110
บท
บทความวิจัย

References

คำนึง สิงห์เอี่ยม. (2560). รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.

ชุลีพร โพธิ์เหลือง. (2557). ผลสัมฤทธิ์การบริหารราชการด้วยหลักธรรมาภิบาล ตามภารกิจหลักขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 6(2), 32-40

ถวิลวดี บุรีกุล. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชน: พฤติกรรมการมีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ของประชาชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2558). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

รังสิมันต์ บุณยปรรณานนท์. (2537). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่น: ศึกษากรณีเปรียบเทียบระหว่างคณะกรรมการชุมชนและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาการบริหารศาสตร์.

วัชรินทร์ สุทธิศัย, และพงษ์ศักดิ์ ซิมมอนด์ส. (2561). การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเซนต์จอห์น, 21(28), 246-264.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2542). การพัฒนาทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาการบริหารศาสตร์.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2558). รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านโครงสร้างพื้นฐาน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). ขอนแก่น: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537. ราชกิจจานุเบกษา, 110(26), 5.

สุภาพ วัยนิพิฐพงษ์. (2552). การมีส่วนร่วมของสมาชิกแจ้งข่าวอาชญากรรมในการป้องกันอาชญากรรมในเขตจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุดมโชค อาษาวิมลกิจ. (2558). การมีส่วนร่วมในกระบวนการประเมินผลการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: คณะกรรมการสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Burkhart, R. E. (1997). Comparative Democracy & Income Distribution: Shape & Direction of the Causal Arrow. Journal of Politics, 59(1), 95-106.

Bureekul, T., Saengmahamat, R., Merieau, E. and Volpe, M. (2012). Citizenship in Thailand. Citizenship and the future of Thai Democracy. (KPI Congress Report). Bang: Sathaban Phra Pokklao. Thailand.

Cohen, J. M & Uphoff N. T. (1981). Participation’s Place in Rural Develop: Seeking Clarity through Specificty. Washington D.C.: World Development.

Cronbach, L.J. (1970). Essentials of Psycholoical Testing. New York: Harper & Row.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A-G., & Buchner, A. (2012). G*Power 3: A Flexible Statistical Power Analysis Program for Social, Behavioral, & Biomedical. Behavior Research Methods, 39(1), 175-191.

Felton, S. Leeds. (1995). Transactional & Transformational Leadership. Dissertation Abstracts International, 67(7), 105-112.

Guilford, J. S. & Gray, D. E, (1970). Motivation & Modern Management. London: Harper & Row.

Maslow, A. (1970). Motivation & Personality. New York: Harper & Row.

McClelland, D.C. (1973). Testing for Competency rather than for Intelligence. American Phycologist. 28(2), 10-24

Nie, N. H. (1969). Political Participation. Massachusetts: Addison Wesley.

Zhao, J. S., Gibson, C., Lovrich, N. & Gaffney, M. (2012). Participation in Community Crime Prevention: Are Volunteers More or Less Fearful of Crime than other Citizens. Journal of Crime & Justice, 38(2), 41-61.