การเสริมสร้างศักยภาพในการลดความเสี่ยงด้านอุทกภัย ของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการลดความเสี่ยงด้านอุทกภัยของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ 2) ศักยภาพ และข้อจำกัดในการจัดการอุทกภัย ของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ และ 3) เสนอแนะแนวทางและมาตรการการเสริมสร้างศักยภาพในการลดความเสี่ยงด้านอุทกภัยของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักถูกเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครอุบลราชธานี และเทศบาลเมืองวารินชำราบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวม 22 คน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุบลราชธานี รวม 2 คน และผู้นำหรือตัวแทนชุมชนในพื้นที่ เสี่ยงอุทกภัย รวม 51 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกต การสำรวจ และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิเคราะห์โดยการจัดกลุ่ม การแยกแยะ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครอุบลราชธานีและเทศบาลเมืองวารินชำราบ มีวิธีการลดความเสี่ยงอุทกภัย เชิงโครงสร้าง เช่น การใช้พนังกั้นน้ำ และไม่ใช่เชิงโครงสร้าง เช่น การตรวจวัดระดับน้ำ การแจ้งเตือนการอพยพ และการมีแผนเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 2) ทั้ง 2 เทศบาลมีศักยภาพ ในการจัดการอุทกภัยเป็นอย่างดีในช่วงระหว่างเกิดอุทกภัย แต่มีข้อจำกัดในการจัดการอุทกภัย เช่น การไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณมาใช้ในการจัดการอุทกภัยก่อนการประกาศเขตภัยพิบัติ และการแจ้งเตือนที่ยังไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้กับชุมชน 3) ข้อเสนอแนะต่อเทศบาล ในการลดความเสี่ยงอุทกภัยเชิงโครงสร้าง เช่น การยกพนังกั้นน้ำให้มีความสูงขึ้น และการสร้างบ้านสองชั้นให้กับชุมชน ไม่ใช่เชิงโครงสร้าง เช่น การจัดอบรมการรับรู้และสร้างความเข้าใจข้อมูลระดับน้ำ การนำข้อมูลและสถิติระดับน้ำท่วมในปี พ.ศ. 2562 มาใช้เป็นฐานในการจัดการอุทกภัยในอนาคต การจัดหาพื้นที่อพยพชั่วคราวเพิ่มขึ้น และการปรับปรุงระบบการแจ้งเตือนการอพยพให้มีความถูกต้องและเชื่อถือมากขึ้น
Article Details
References
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์และวางแผนจัดการพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชูวงศ์ อุบาลี. (2557). การบริหารจัดการภัยพิบัติ: บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดจันทบุรี. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 7(2), 51-69.
ทวิดา กมลเวชช. (2555). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
รัชนี ดิ้นเมือง. (2554). การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงบูรณาการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางหมาก อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรัทยา พรมชาติ. (2556). ความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่, การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วันทนีย์ คงสมบูรณ์. (2551). หลักการและแนวทางการจัดการสาธารณภัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการสาธารณภัย. หน่วยที่ 8 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทัย เลาหวิเชียร และสุวรรณี แสงมหาชัย. (2560). การบริหารการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(2), 111-127.
Adedeji, O. H., Odufuwa, B. O., & Adebayo, O. H. (2012). Building capabilities for flood
disaster and hazard preparedness and risk reduction in Nigeria: Need for spatial planning and land management. Journal of Sustainable Development in Africa. 14(1), 45-58.
Amaratunga, D. (n.d.). Capacity building framework for disaster risk reduction. Retrieved March 21, 2018, from http://www.salford.ac.uk/__data/ assets/pdf_file/0008/394532/ Capacity- building-framework-for-Disaster-Risk-Reduction.pdf
Capacity for Disaster Reduction Initiative. (2012). Basics of Capacity Development for Disaster Risk Reduction. Retrieved May 30, 2018, from http://www.rootchange. org/about_us/resources/publications/CADRI_brochure%20final.pdf
Coppola, P. D. (2007). Introduction to international disaster management. China: Elsevier.
Davies, T., Beaven, S., Conradson, D., Densmore, A., Gaillard, JC., Johnston, D.,…Wilson, T. (2015). Toward disaster resilience: A scenario-based approach to co-producing and integrating hazard and risk knowledge. International Journal of Disaster Risk Reduction, 13, 242-247.
Fakhruddin, S.H.M., Kawasakib, A., & Babel., M. S. (2015). Community responses to flood early warning system: Case study in Kaijuri Union, Bangladesh. International Journal of Disaster Risk Reduction, 14(4), 323-331.
Hagelsteen, M., & Becker, P. (2014). Forwarding a challenging task: Seven elements for Capacity development for disaster risk reduction. Planet@Risk, 2(2), 94-97.
Hartwig, K., Pashman, J., Cherlin, E., Dale, M., Callaway, M., Czaplinski, C.,...Bradley, E. H. (2008). Hospital management in the context of health sector reform: A planning model in Ethiopia. International Journal of Health Planning and anagement, 23, 203–218.
International Labour Organization. (2005). Capacity Building and Training for Disaster Risk Reduction in Recovery Management. Retrieved from http://www.recoveryplatform.org/assets/meetings_trainings/sideevent_iatf_12/ 200511_ilo_dis.pdf
Japan International Cooperation Agency. (2008). Building Disaster Resilient Societies. Retrieved from http://www.jica.go.jp/english/our_work/ thematic _issues/water/pdf/cooperation_01.pdf
Khan, H., Vasilescu, L., & Khan, A. (2008). Disaster management cycle- A theoretical approach. Retrieved February 20, 2018, from http://www.mnmk.ro/ documents/2008/2008-6.pdf
Krishnaveni, R., & Sujatha, R. (2013). Institutional capacity building: A systematic approach. Journal of Indian Management, October – December, 17-23.
Kühl, S (2009). Capacity development as the model for development aid organizations. Development and Change, 40(3), 551-577.
McBean, G., & Rodgers, C. (2010). Climate hazards and disasters: The need for capacity building. WIREs Climate Change, 1(6), 871-884.
Sitko, P. (2012). A critical analysis of emergency capacity building: The work of the ECB project. (Master thesis). Oxford Brookes University, UK.
Ulum, M. C., & Chaijaroenwatana, B. (2011). Governance and capacity building of handling the flood issue in Bojonegoro Municipality, Indonesia. Journal of Politics and Governance, 3(1), 18-34.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. (2006). Guidebook for planning education in emergencies and reconstruction. Retrieved May 3, 2018, from http://www.preventionweb.net/files/8401_guidebook.pdf
United Nations International Strategy for Disaster Reduction. (2009). 2009 UNISDR Terminology on Disaster Risk Reduction. Retrieved May 21, 2018, from https://www.unisdr.org/files/7817_UNISDRTerminologyEnglish.pdf
United Nations International Strategy for Disaster Reduction. (2004). Disaster risk reduction, governance and development. Retrieved from http://www.unisdr.org/ files/8546_governacedevelopment1.pdf
Walters, H. (2007). Capacity development, institutional change and theory of change: What do we mean and where are the linkages. Retrieved from http://portals.wi.wur.nl/files/docs/successfailuredevelopment/Walters_ Capacity DevelopmentConceptPaperFIN.pdf
White, B. A., & Rorick, M. M. (2010). Cost-benefit analysis for community-based: Disaster risk reduction in Kailali, Nepal. Retrieved from https://www.mercycorps.org/sites/default/files/mc-cba_report-final-2010-2.pdf
Wongpreedee, A., & Sudhipongpracha, T. (2014). Disaster management that works: Flood management strategy and implementation in Nakorn Pakkred Municipality. NIDA Case Research Journal, 6(1), 1-32.