รูปแบบผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

กัลญา อุปัชฌาย์
วัชรินทร์ สุทธิศัย
สิทธิพรร์ สุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 ของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) บทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) ปัจจัยคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรี ในจังหวัดร้อยเอ็ด และ 4) รูปแบบคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง รวมทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยใช้การสนทนากลุ่มซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนจาก 1) นักการเมืองท้องถิ่น 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ผู้นำชุมชน/ หมู่บ้าน 4) ตัวแทนประชาชน 5) ภาคเอกชน และ 6) ข้าราชการ รวมจำนวน 18 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 ของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด และบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 ของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจำนวน 7 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยจินตนาการ ปัจจัยท้าทาย ปัจจัยการนำเสนอ ปัจจัยไว้วางใจ ปัจจัยแรงบันดาลใจ ปัจจัยส่วนร่วม และปัจจัยยืดหยุ่น ซึ่งมีสมการถดถอยคะแนนมาตรฐาน Z = .40Z7+.22Z5+.16Z2 +.13Z12+.07Z10+.07Z11+.05Z6 ผลการวิจัยรูปแบบคุณลักษณะผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า ประกอบด้วยปัจจัยจำนวน 13 ตัวแปร และยังพบว่าประกอบด้วยปัจจัยเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ 1) ปัจจัยทักษะด้านสารสนเทศ และ 2) ปัจจัยการคิดนอกกรอบ

Article Details

How to Cite
อุปัชฌาย์ ก. ., สุทธิศัย ว. ., & สุนทร ส. . (2022). รูปแบบผู้นำสตรีในศตวรรษที่ 21 กับบทบาทการพัฒนาชุมชนของสตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Politics and Governance, 12(1), 189–203. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/259950
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ มาฆะสวัสดิ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดสมุทรสงคราม: ศึกษากรณี อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2550). การบริหารการพัฒนาชนบท: มาตรฐานการส่งเสริมการพัฒนาบทบาทสตรีในชุมชน 7 ด้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำของสตรีในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กลุ่มวิชาการสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. (2561). สถิติจังหวัดร้อยเอ็ด: จำนวนประชากรจำแนกตามอำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด เดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2561. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด.

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายงานการประชุมผู้บริหารสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด และนักวิชาการพัฒนาชุมชน ครั้งที่ 9/2560 ประจำเดือนตุลาคม 2560. ร้อยเอ็ด: สำนักงานคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดร้อยเอ็ด.

มิตรธีรา วิสูตรานุกูล. (2559). รูปแบบพัฒนาบทบาททางการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของสตรีในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2558). รายงานสถานการณ์สตรี ปี พ.ศ. 2558 (รายงานผลการวิจัย). สํานักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, กรุงเทพฯ.

อุมา วิภูษณะ. (2556). บทบาทผู้นำสตรีในการพัฒนาท้องถิ่นพื้นที่ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์ และคณะ. (2561). บทบาทคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารท้องถิ่นใน ศตวรรษที่ 21 ในการพัฒนาชุมชน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 3(2), 146-161.

Badillo, M. (2013). 21st Century Leadership Skills: Ten skills for the future workforce. New York: McGraw-Hill.

Cronbach, L. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Greenberg, J. (2012). Five Essential Skills for Leadership in the 21st Century: Behavior in organization: Understanding and managing. New York: McGraw-Hill.

Kennedy. (2011). Leadership for System Transformation. New York: McGraw-Hill.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: McGraw-Hill.

Puccio, G., Murdock, M., & Mance, M. (2011). Creative Leadership: Skills That Drive Changes. Thousand Oaks: SAGE-Publications.

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of Leadership. New York: Free Press. Sullivan.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.