รัฐอิสลาม: ภาพจริงจากหลักคำสอนกับภาพหลอนที่ถูกสร้าง

Main Article Content

สามารถ ทองเฝือ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองว่าด้วย “รัฐอิสลาม” ของท่านศาสดามุฮัมมัดในการสถาปนารัฐอิสลามแห่งนครมะดีนะฮฺ 2) ศึกษาแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองว่าด้วย “รัฐอิสลาม” ของกลุ่มขบวนการไอเอส 3) เปรียบเทียบแนวคิด “รัฐอิสลาม” ของศาสดามุฮัมมัดกับกลุ่มไอเอส 4) ศึกษาข้อคลาดเคลื่อนที่ผิดเพี้ยนถึงแนวคิด ของกลุ่มไอเอสจากแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองของท่านศาสดามุฮัมมัด และ5) ศึกษาผลกระทบของแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุ่มไอเอส ที่มีผลต่อสังคมไทย ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ภาพความจริงของการปกครองรัฐอิสลามสมัยศาสดามุฮัมมัดมีการใช้ระเบียบแบบแผนตามรัฐธรรมนูญมะดีนะฮฺที่ยอมรับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมด้วยความสงบไม่นิยมความรุนแรงและปกครองทั้งคนที่เป็นมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิม 2) กลุ่มไอเอสเป็นกลุ่มขบวนการมุสลิมซุนนีที่มีแนวคิดเรียกร้องความยุติธรรมโดยใช้อัลกุรอานและแบบอย่างของศาสดา แต่กลุ่มไอเอสได้นำหลักการเพียงแค่บางประการมาเป็นแรงขับเคลื่อนและเชิญชวนผู้คนให้มาเข้าร่วมต่อสู้ตามวิธีการของกลุ่ม 3) เมื่อเปรียบเทียบแนวคิดรัฐอิสลามของทั้งสองพบว่า กลุ่มไอเอสได้เพิ่มเติมแนวคิดความเชื่อ ของกลุ่มตนในการบริหารและการปกครอง ไม่ยอมรับในความแตกต่าง ใช้กำลังบังคับกดขี่เพื่อให้ ฝ่ายตรงข้ามยอมรับในอำนาจของตนซึ่งมีความแตกต่างกับท่านศาสดามุฮัมมัด 4) แนวคิดวิธีการ ที่มีในสมัยศาสดาเป็นที่ยอมรับว่ามีความสงบและมีความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างชาวมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมแต่สำหรับกลุ่มไอเอสมีลักษณะการบังคับและกดขี่ผู้คนอันเป็นเหตุไปสู่ความขัดแย้ง และสงคราม และ5) แนวคิดการจัดตั้งรัฐอิสลามของกลุ่มไอเอสส่งผลสังคมไทยเกิดความหวาดกลัว ต่ออิสลาม ทำให้บางพื้นที่ในประเทศไทยมีการต่อต้านศาสนาอิสลาม

Article Details

How to Cite
ทองเฝือ ส. . (2022). รัฐอิสลาม: ภาพจริงจากหลักคำสอนกับภาพหลอนที่ถูกสร้าง. Journal of Politics and Governance, 12(1), 79–97. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/259901
บท
บทความวิจัย

References

คุรชีด อะห์หมัด. (2541). อิสลาม: ความหมายและคำสอน (จรัญ มะลูลีม, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: อิสลามิคอะเคเดมี.

จรัญ มะลูลีม. (2557). รัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย. จุลสารความมั่นคงศึกษา, พฤศจิกายน 2557, น.149.

______. (2559). โลกมุสลิมกับการก่อการร้าย. จุลสารความมั่นคงศึกษา, เมษายน 2559, น.171.

______. (2563, 11 กุมภาพันธ์). ศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [บทสัมภาษณ์].

ศราวุฒิ อารีย์. (2563, 11 กุมภาพันธ์). ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [บทสัมภาษณ์].

มุสตอฟา อัสสิบาอีย์. (2554). วิเคราะห์บทเรียนและข้อคิดจากชีวประวัติท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอุอะลัยฮิวะซัลลัม) (ฆอซาลี เบ็ญหมัด ผู้แปล). สงขลา: มูลนิธิเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาสังคม.

มัสลัน มาหามะ. (2551). อิสลามวิถีแห่งชีวิต. สงขลา: สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ศอลิห์ หุสัยน์ อัลอายิด. (2548). สิทธิของชนต่างศาสนิกในประเทศอิสลาม (อุษมาน อิดริส, ผู้แปล). ปัตตานี: วิทยาลัยอิสลามยะลา.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย. (2542). พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย. อัลมะดีนะฮฺอัลมุเนาวะเราฮฺ: ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน.

สามารถ ทองเฝือ. (2562). อิสลามกับการเมือง. ปัตตานี: ปาตานีฟอรั่ม.

อาทิตย์ ทองอินทร์. (2563, 12 กุมภาพันธ์). อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช [บทสัมภาษณ์].

อณัส อมาตยกุล. (2563, 12 กุมภาพันธ์). อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล [บทสัมภาษณ์].

อับดุลรอนิง สือแต, อุสมาน ยุนุ๊, และไฟซ๊อล หะยีอาวัง. (2563, 18 กุมภาพันธ์) อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [สนทนากลุ่ม].

อิมรอน มะลูลีม. (2536). มุฮัมมัดศาสดาแห่งอิสลาม. กรุงเทพฯ: อิสลามมิคอะคาเดมี.

Bowering, Gerhard. (2013). The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought. New Jersey: Princeton University Press.

Esposito, John L. (2003). The Oxford Dictionary of Islam. New York: Oxford University Press.

Fernando PM Tambunan. (2014). Sejarah dan Ideologi ISIS (Islamic State of Iraq and Sham). Jakarta, Indonesia: Kajian Ketahanan Nasonal, Kekhususan Kajian Stratejik Intelijen, Program Pascasarjana, Universiti Indonesia, Jakarta.

Gerges. A. Fawaz. (2014). ISIS and the Third Wave of Jihadism. Boston, United States: University of Boston.

Hamidullah, Muhammad. (2007). The Prophet’s Establishing A State and His Succession. New Delhi: Adam Publishers and Distributors.