มาตรการทางกฎหมายในการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ในกรณีการจับในความผิดซึ่งหน้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1. แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการตรวจสอบ การใช้อำนาจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของการจับ ในกรณีความผิดซึ่งหน้า 2. ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าของประเทศฝรั่งเศส และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทย 3. เพื่อวิเคราะห์ เปรียบเทียบประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจจับและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับตรวจสอบการใช้อำนาจจับ ในกรณีของความผิดซึ่งหน้า จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติของกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการจับในกรณีความผิดซึ่งหน้าของไทย คล้ายกันกับกฎหมายของฝรั่งเศส แต่มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจ กลับมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับของสหรัฐอเมริกา นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด คือ บทบาทขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมกับการมีส่วนรวมในการตรวจสอบ โดยกฎหมายฝรั่งเศส ได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ด้วยการวางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินคดี การจับกุมและการสอบสวนคดีที่เป็นความผิดซึ่งหน้า ไว้ค่อนข้างละเอียด รวมถึงมีการสร้างกลไก ในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานรัฐ ตั้งแต่ความผิดเกิดขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากกับของสหรัฐอเมริกาและไทย ที่ไม่มีระบบการสอบสวนในคดีความผิดซึ่งหน้าโดยเฉพาะ รวมถึงมีศาล ซึ่งเป็นองค์กรภายนอกเพียงองค์กรเดียวเท่านั้น ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจ ของเจ้าพนักงานผู้จับกุมว่า มีเหตุอันควรเชื่อ รวมถึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจับหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงควรมีการบัญญัติกฎหมายในส่วนของการสอบสวนในคดีความผิดซึ่งหน้าไว้โดยเฉพาะ รวมถึงควรออกข้อกำหนดให้อัยการและศาล เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบในกรณีของการจับในความผิดซึ่งหน้า ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่ความผิดเกิด โดยเฉพาะในกรณีของความผิดอาญาร้ายแรง เหมือนเช่นกฎหมายของฝรั่งเศส
Article Details
References
คณิต ณ นคร. (2531). ความเป็นประชาธิปไตยในกระบวนการยุติธรรม. รพี 31 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
______. (2541). กระบวนการยุติธรรมกับปัญหาความโปร่งใสและระบบการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญใหม่. วารสารบทบัณฑิตย์. 54(4), 47-55.
จุตติ ธรรมมโนวานิช. (2537). หลักกฎหมายและแนวปฏิบัติว่าด้วยการจับและการแจ้งข้อหา, การควบคุมและฝากขัง, การค้น และการปล่อยชั่วคราว. ภาควิชากฎหมายวิธีสบัญญัติ ส่วนวิชากฎหมาย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
ธเนศ ชาลี. (2540). มาตรการควบคุมการเริ่มต้นคดีของตำรวจ. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พิมพ์เพ็ญ พัฒโน. (2542). กลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540: ศึกษากรณีการจับ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เมธา วาดีเจริญ. (2539). บทบาทของเจ้าพนักงานตำรวจในการสอบสวนคดีอาญา “ทฤษฎีกับปฏิบัติทำได้แต่ไม่ค่อยจะตรงกัน. กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.
สถาบันกฎหมายอาญา. (2540). สารานุกรมกระบวนการยุติธรรมนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมายอาญา.
สถาบันกฎหมายอาญา. (2542). รายงานการสัมมนาทางวิชาการโครงการ “เวทีความคิดเพื่อการพัฒนากระบวน การยุติธรรมไทย” เรื่อง “กระบวนการยุติธรรมกับการสร้างความโปร่งใสและระบบการตรวจสอบตามแนวทางในรัฐธรรมนูญใหม่. วารสารบทบัณฑิตย์, 55(4), 125-166.
อริยา มนูสุข. (2547). การจับ: ศึกษาเฉพาะกรณีความผิดซึ่งหน้า. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สาขากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.
อุทัย อาทิเวช. (2546). การจับการค้นในประเทศสหรัฐอเมริกา. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาสิทธิมนุษยชน. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.