การจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563: การย้ำสิทธิ์ การบูรณะและการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563 โดยใช้วิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) ด้วยการศึกษาจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามที่ชายแดนปราสาทสด๊กก๊อกธม ต.โคกสูง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความสำคัญอย่างมาก ในแง่ประวัติศาสตร์และความมั่นคง ทั้งยังตั้งอยู่ใกล้เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา จึงมี 3 หน่วยงานหลักเข้ามาจัดการ คือ หน่วยงานความมั่นคง กรมศิลปากร และหน่วยงานในพื้นที่ ส่วนผลการศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชาของรัฐไทยเหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม พ.ศ. 2534-2563 แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ 1) การจัดการชายแดน พ.ศ. 2534-2556 รัฐไทยมีเป้าหมายเพื่อย้ำสิทธิ อันชอบธรรมเหนือปราสาทสด๊กก๊อกธม ท่ามกลางกรณีพิพาทเรื่องดินแดนและปราสาทพระวิหาร ด้วยการที่หน่วยงานความมั่นคงเข้าไปขอเช่าพื้นที่รอบปราสาทเพื่อสร้างหมู่บ้านป้องกันตนเองชายแดน (ปชด.) และอพยพประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเข้าอยู่อาศัย การประดับธงชาติไทย รวมถึงการที่กรมศิลปากรรีบเร่งดำเนินการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม 2) การจัดการชายแดน พ.ศ. 2557-2563 ยังคงให้ความสำคัญกับการย้ำสิทธิ์เหนือพื้นที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ด้วยการจัดตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งที่ 11 ของประเทศไทย การเปลี่ยนคำขวัญ และตราสัญลักษณ์ประจำอำเภอโคกสูง ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาการจัดการชายแดนไทย-กัมพูชา ผ่านการดำเนินงานของฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้องค์ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการชายแดนเหนือปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความรอบด้านยิ่งขึ้น
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15 – 16. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
______. (ม.ป.ป.). ปราสาทสด๊กก๊อกธม. สืบค้นจาก http://www.qrcode.finearts.go.th/index.php/th/historic-site/hs-sra-kiao/sdokkokthom
กำพล จำปาพันธ์. (2559). ร่อยรอยอายธรรมเขมรโบราณและสยามอโยธยาในเขตจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 12(2), 33-58.
ข่าวในพระราชสำนัก. (2553, สิงหาคม). ข่าวในพระราชสำนัก วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2553 (ช่อง Thai PBS) (1/2). สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=8eGu2OrKuXY
จตุพร ดอนโสม. (2563). ปฏิบัติการในชุมชนชายแดนรัฐจัดตั้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา.
เจษฎา ความคุ้นเคย. (2561). การพัฒนารูปแบบเขตเศรษฐกิจชายแดนไทย - กัมพูชา เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3). 71-86.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2552). ลัทธิชาตินิยมไทย/สยามกับกัมพูชาและกรณีศึกษาปราสาทเขาพระวิหาร. กรุงเทพฯ: โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ป๋วยอึ๊งภากรณ์.
ชิตพล ชัยมะดัน. (2563). ผลการดำเนินงานตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ: กรณีศึกษาจังหวัดสระแก้ว. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(2), 48-66.
ทิพย์สุดา ธรรมลาภากุล. (2560). การเมืองในการกำหนดนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2556). กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ธีรพงษ์ เรืองคำ. (2559). วิเคราะห์หลักกฎหมายระหว่างประเทศในคดีตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ค.ศ. 2013. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้จัดการ. (2551, สิงหาคม). กมธ.กิจการชายแดน ลงสระแก้ว หลังเขมรประกาศยึด”สด๊กก๊อกธม. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/mgrView.asp?NewsID =9510000099671
ฝ่ายกิจการพลเรือน กองกำลังบูรพา. (2545). บัญชีรายชื่อสมาชิกชุดปฏิบัติการป้องกันและพัฒนา อำเภอตาพระยา บ้านหนองหญ้าแก้ว.
______. (ม.ป.ป.). สรุปแบบบัญชีรายชื่อพื้นที่ป่าไม้ทบ.ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จ.สระแก้ว.
พิพัฒน์ กระแจะจันทร์. (2556). ประวัติศาสตร์ผู้คนบนเส้นพรมแดนเขาพระวิหาร. กรุงเทพฯ: มติชน.
ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ (2536). ปราสาทเขาพระวิหาร ศาสนบรรพตที่โดดเด่นที่สุดในภาคพื้น เอเชียอาคเนย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ราฆพ บัณฑิต. (2546). ปราสาทสด๊อกก๊อกธม: ปราสาทเขมรทรงพุ่มรุ่นแรกในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสุ โปษยะนันทน์. (2552). อนัสติโลซิสเพื่อการบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย ไพเราะ. (2559). พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว: พื้นที่ ผู้คน อำนาจและการปรับตัว. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สัญญารัตน์ มีสุวรรณ. (2558). ความขัดแย้งเหนือดินแดนปราสาทพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชา: ผลกระทบ และแนวโน้มหลังคำพิพากษาตีความของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2556. โครงการผลิตและเผยแพร่ตำราและผลงานวิชาการ, วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. ( ม.ป.ป.). แผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2549–2564). สืบค้นจาก https://bit.ly/3ax7ILx
สุจิต วงศ์เทศ. (2562, มิถุนายน). รายการ ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องท่องเที่ยว จังหวัดสระแก้ว ตอน กรุงเทพตั้งเค้าเป็นราชธานี ที่ปราสาท สด๊กก๊อกธม หลักแหล่งลัทธิเทวราช. [วีดิทัศน์]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=Pc5BK3clwY8
สุชาติ ผดุงกิจ. (2558). เขตเศรษฐกิจพิเศษกับความคาดหวังของคนไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 57(2), 08-18.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2553). เขตแดน พรมแดน ชายแดน.จุลสารความมั่นคงศึกษา, จุลสารความ มั่นคงศึกษา ฉบับที่ 71.
หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 กองกำลังบูรพา. (ม.ป.ป.). ข้อมูลการเก็บกู้วัตถุระเบิดพื้นที่ SHA ปราสาทสด๊กก๊อกธม.
อภิชาติ ทวีโภคา. (2549). จารึกสด๊กก๊อกธม:รหัสผ่านประวัติศาสตร์ขอม. สระแก้ว: ช.ดำรงชัยการพิมพ์.
อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม. (2563). ประวัติความเป็นมา. สืบค้นจาก http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/prasatsadokkokthom/index.php/th/
Etienne Aymonier. (1901). Le Cambodge. Tome II, Les Provinces siamoises. Paris: Ernest Leroux.
Miss Grand Thailand. (2019, July). MGT63 มิสแกรนด์สระเเก้ว. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/missgrandthailand/photos/a.1860240530788860/1860242880788625/?type=3&theater
รายชื่อผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
จตุรพร เทียมทินกฤต. (2563, 30 กันยายน). ข้าราชการกรมศิลปากร [บทสัมภาษณ์].
ชัตรัต สกุลพราหมณ์. (2562, 29 กรกฎาคม). มัคคุเทศก์ปราสาทสด๊กก๊อกธม [บทสัมภาษณ์].
เชี่ยวชาญ แสงแก้ว. (2563, 9 กันยายน). หัวหน้าชุดแจ้งเตือนและข่าวสาร หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 1 กองกำลังบูรพา [บทสัมภาษณ์].
ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์. (2563, 25 สิงหาคม). หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม [บทสัมภาษณ์].
ปรีชา นุชละม้าย. (2562, 25 มกราคม). มัคคุเทศก์ปราสาทสด๊กก๊อกธม [บทสัมภาษณ์].
สนั่น รังใส. (2562, 21 สิงหาคม). ตำรวจตระเวนชายแดนที่ 12 สระแก้ว [บทสัมภาษณ์].
อภิชาต ทวีโภคา . (2562, 20 กรกฎาคม). ปลัดอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว [บทสัมภาษณ์].