การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเตรียมความพร้อมสู่นโยบายประเทศไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะที่เป็นจริงและ ที่พึงประสงค์ของอาจารย์ฯ 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถนะที่เป็นจริงกับสมรรถนะ ที่พึงประสงค์ของอาจารย์ฯ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะที่เป็นจริงของอาจารย์ฯ และ 4) ศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะที่เป็นจริงของอาจารย์หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประเทศไทย 4.0 กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ อาจารย์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 142 ตัวอย่าง เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และสถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต รวม 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบ พบว่า สมรรถนะที่เป็นจริงและ ที่พึงประสงค์แตกต่างกัน โดยสมรรถนะที่เป็นจริงต่ำกว่าสมรรถนะที่พึงประสงค์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะที่เป็นจริงฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยการส่งเสริมทางวิชาการ และปัจจัยค้ำจุน สามารถอธิบายเปลี่ยนแปลงสมรรถนะที่เป็นจริงฯ ได้ร้อยละ 60 (R2 = 0.60) สภาพปัญหาในการพัฒนาสมรรถนะฯ ได้แก่ ขาดความรู้ความสามารถ ภารกิจงานวิชาการไม่ชัดเจน ไม่ต้องการพัฒนาตนเอง สถาบันไม่เห็นความสำคัญของการพัฒนา และงานวิชาการไม่สอดคล้องกับความต้องการ โดยแนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ได้แก่ เน้นการใช้เทคโนโลยี มีฝ่ายสนับสนุนภารกิจอาจารย์ มีบรรยากาศสร้างงานวิชาการ และมีการร่วมมือกันทั้งภายในและภายนอกองค์กร
Article Details
References
ประทวน มูลหล้า. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียนของครู ระดับมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพฯ เขต 1. (ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ
เพลินพิศ จุฬพันธ์ทอง. (2557). การพัฒนากลยุทธ์การบริการวิชาการแกสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, กำแพงเพชร
เมธัส วันแอเลาะ. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. ศรีปทุมปริทัศน์, 7(2), 88-101.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2555). คู่มือพจนานุกรมสมรรถนะสำหรับข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเลขาธิกาสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อัจฉรา หล่อตระกูล. (2557). การพัฒนาสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
อัมพร ธำรงลักษณ์, ยุทธพร อิสระชัย, และวรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์. (2559). สถานภาพของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(1), 40 - 62.
Cronbach, L. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Herzberg, F. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Klein, J. D. and Richey, R. C. (2005). Performance Improvement. The case for intonational standards. New York: John Wiley & Sons.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: McGraw-Hill.